

Best Paper Award งาน NCIT2017
Best Paper Award งาน NCIT2017
นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 2 ทีม คว้า 2 รางวัล Best Paper Award จากงานประชุมวิชาการระดับประเทศทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (The 9th National Conference on Information Technology: NCIT 2017) เมื่อวันที่ 1-2พฤศจิกายน 2560ณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล
เป็นอีกหนึ่งปีที่นักศึกษาคณะไอทีลาดกระบัง คว้ารางวัล Best Paper Awardจากงานประชุมวิชาการระดับประเทศทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (NCIT 2017) โดยในปีนี้ได้รับรางวัล Best Paper Awardมาถึง 2 หมวดรางวัลด้วยกัน คือ รางวัล Best Paper Award ในหมวด IT Applicationจากบทความที่มีชื่อว่า “แอปพลิเคชันมือถือร่วมสร้างสรรค์ของกลุ่มคนสำหรับร้องขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน (A Crowd-BasedMobile Application forRequesting Emergency Assistance)” เป็นบทความที่นำเสนอระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่มีการประมวลผลก่อนนำส่งคำร้องเพื่อประเมินความเหมาะสมของผู้รับคำร้อง โดยนำเอาหลักการ Crowdsourcing มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างให้เกิดเป็นสังคมแห่งการช่วยเหลือซึ่งกันและกันผ่านระบบการทำงานดังกล่าว ซึ่งเป็นผลงานของนายธนวัฒน์ กุสูงเนิน และ นายธัชกร จอมอุตม์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีรพงศ์ ลีลานุภาพ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
และอีกหนึ่งรางวัลคือ Best Paper Award ในหมวด Image Processing จากบทความที่มีชื่อว่า “การพัฒนาระบบนาทางภายในอาคารด้วยความเป็นจริงเสริม (Development Augmented RealityIndoor Navigation System)” เป็นงานวิจัยที่นำเสนอการพัฒนาระบบนำทางภายในอาคาร โดยการประยุกต์ใช้ Augmented Reality (AR) ร่วมกับกล้องบนสมาร์ทโฟน ในการตรวจจับภาพจุดสำคัญต่าง ๆ ภายในอาคาร เพื่อระบุตำแหน่งของผู้ใช้ และใช้ AR ในการช่วยชี้นำทางไปยังจุดหมายปลายทางที่ผู้ใช้ต้องการ เป็นผลงานของนางสาวบุญฑริกา โพชฌงค์เดช และ นางสาวเอื้อมพร รักกำเหนิด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ วังศิริพิทักษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่คณะไอทีลาดกระบังพยายามให้การส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษา ได้หาประสบการณ์นอกชั้นเรียน โดยการนำองค์ความรู้จากในชั้นเรียนมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ทางด้านไอทีก่อนสำเร็จการศึกษา

รางวัล Special Prize จากงาน NAPROCK ประเทศญี่ปุ่น
“Fashion Finder”เว็บแอพพลิเคชั่นสำหรับค้นหาเสื้อผ้าผลงงานของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่คว้ารางวัล Special Prizeการแข่งขัน NAPROCK 9th International Programming Contest

โครงการอบรม “การพัฒนาความรู้ทักษะด้าน Internet of Things”
หลักการ
จากกรอบแนวทางการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 ในฐานะที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในช่วงวัยนักศึกษา ซึ่งตรงกับแผนการพัฒนาฯ ในวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) พบว่าในช่วงวัยนี้มียุทธศาสตร์ 3 ด้านคือ การพัฒนาศักยภาพคนไทย การสร้างความมั่นคงในชีวิต และ การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย ดังนั้นในโครงการนี้จึงมุ่งเน้นไปที่ยุทธศาสตร์ การพัฒนาศักยภาพคนไทย โดยมีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์คือ การพัฒนาทักษะและสมรรถนะอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2561 จะมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ในการพัฒนาแรงงานในสาขาที่ขาดแคลนหรืออุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ และ พบว่าปัจจุบันเทคโนโลยี Internet of Things กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นแรงงานได้รับการพัฒนาเพื่อสร้างสรรงานนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าให้กับประเทศชาติต่อไป
ทางโครงการจึงได้จัดทำ โครงการจัดอบรมพัฒนาความรู้ทักษะด้าน Internet of Thingsให้กับนักศึกษาระดับ ปวส และระดับปริญญาตรี รวมไปถึงบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาฮาร์ดแวร์ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับแรงงานให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Internet of Things ได้เป็นอย่างดีโดยในปีนี้จะเป็นการดำเนินโครงการในปีแรก และคาดว่าเมื่อดำเนินโครงการแล้วจะมี แรงงานสำเร็จการฝึกอบรมตามมาตรฐานฝึกมากกว่า ร้อยละ 80
เนื้อหาการอบรม
ประกอบด้วย 4 ส่วน เนื้อหาดังนี้
1. Arduino
- ความรู้ความใจเกี่ยวกับไมโครคอนโทรลเลอร์พื้นฐาน
- การต่อวงจรพื้นฐานของ Arduino platform
- การเขียนโปรแกรมส่งค่าออกจากพอร์ต
- การเขียนโปรแกรมรับค่าเข้าพอร์ต
- การเขียนโปรแกรมสื่อสารแบบอนุกรม
- การเขียนโปรแกรมแสดงค่าออกจอ LCD
- การเขียนโปรแกรมสื่อสารแบบI2C
- การเขียนโปรแกรมเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2. Internet of Things
- หลักการของ Internet of Things
- โปรโตคอล MQTT
- การใช้ Arduino ในการสื่อสารโดยใช้ MQTT Protocol
- การเชื่อมต่ออุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ โดยใช้ Arduino และสื่อสารผ่าน MQTT Protocol
- การเชื่อมต่ออุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ กับ Website ผ่าน Web Socket
3. Raspberry Pi 3
- หลักการพื้นฐานของ Raspberry Pi 3
- การเขียนโปรแกรมส่งค่าออกจากพอร์ต
- การเขียนโปรแกรมรับค่าเข้าพอร์ต
- การนำ Raspberry Pi มาสร้างเป็น IoT Gateway
- การเชื่อมต่ออุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ โดยใช้ Raspberry Pi และสื่อสารผ่าน MQTT Protocol
4. Node MCU
- หลักการพื้นฐานของ Node MCU
- การเขียนโปรแกรมส่งค่าออกจากพอร์ต
- การเขียนโปรแกรมรับค่าเข้าพอร์ต
- การเชื่อมต่ออุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ โดยใช้ Node MCU และสื่อสารผ่าน MQTT Protocol
วิทยากร
คณาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิทยากรภายนอก
คุณสมบัติของผู้สมัคร
- นักศักษาระดับ ปวส. และระดับปริญญาตรี
- บุคคลทั่วไป (บุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาฮาร์ดแวร์ และต้องการได้รับการพัฒนาฝีมือ)
ระยะเวลาและสถานที่อบรม
รอบ |
วันที่อบรม |
ห้องอบรม ณ อาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล. |
เวลาอบรม (เสาร์-อาทิตย์) |
รอบที่ 1 |
วันที่ 11 – 12 และ 18 – 19 พ.ย. 2560 |
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 3 ห้อง 304 |
09.00- 16.00 น |
รอบที่ 2 |
วันที่ 25 – 26 พ.ย. และ 2 – 3 ธ.ค. 2560 |
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 3 ห้อง 304 |
09.00- 16.00 น |
รอบที่ 3 |
วันที่ 16 – 17 และ 23 – 24 ธ.ค. 2560 |
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 3 ห้อง 304 |
09.00- 16.00 น |
รอบที่ 4 |
วันที่ 13 – 14 และ 20 – 21 ม.ค. 2561 |
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 3 ห้อง 304 |
09.00- 16.00 น |
การรับสมัคร
รอบ |
วันที่อบรม |
รับสมัคร |
รอบที่ 1 |
วันที่ 11 – 12 และ 18 – 19 พ.ย. 2560 |
รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 2 พฤศจิกายน 2560 |
รอบที่ 2 |
วันที่ 25 – 26 พ.ย. และ 2 – 3 ธ.ค. 2560 |
รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 15 พฤศจิกายน 2560 |
รอบที่ 3 |
วันที่ 16 – 17 และ 23 – 24 ธ.ค. 2560 |
รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 6 ธันวาคม 2560 |
รอบที่ 4 |
วันที่ 13 – 14 และ 20 – 21 ม.ค. 2561 |
รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 3 มกราคม 2561 |
จำนวนรับสมัคร
รอบละ 40 คน
ค่าลงทะเบียน
ฟรี !!
(ไม่มีบริการอาหารกลางวัน และอาหารว่าง)
ตารางการอบรม
รอบที่ |
เวลา |
เนื้อหา |
08.30 – 09.00 น. |
ลงทะเบียน |
|
รอบที่ 1 วันที่ 11 – 12 และ 18 – 19 พ.ย. 2560
รอบที่ 2 วันที่ 25 – 26 พ.ย. และ 2 – 3 ธ.ค. 2560
รอบที่ 3 วันที่ 16 – 17 และ 23 – 24 ธ.ค. 2560
รอบที่ 4 วันที่ 13 – 14 และ 20 – 21 ม.ค. 2561
|
09.00 – 16.00 น.
|
1 Arduino
2 Internet of Things
3 Raspberry Pi 3
4 Node MCU
|
เงื่อนไข
ผู้เข้าอบรมจะต้องมีเวลาในการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาการอบรมทั้งหมด และสอบผ่านเกิน 80% จึงจะได้รับใบรับรองผ่านการอบรม (Certificate of Course Attendance)
วิธีสมัคร
-
สมัครผ่านระบบออนไลน์
**ปิดรับสมัคร **
-
รอบที่ 1 (เต็มแล้ว) ประกาศรายชื่อ
กรณี ต้องการสละสิทธิ์กรุณาแจ้งกลับด่วน เพื่อทางโครงการฯ จะได้แจ้งลำดับสำรองแทนที่ต่อไป
-
รอบที่ 2 (เต็มแล้ว) รอประกาศรายชื่อ
กรณี ต้องการสละสิทธิ์กรุณาแจ้งกลับด่วน เพื่อทางโครงการฯ จะได้แจ้งลำดับสำรองแทนที่ต่อไป
-
รอบที่ 3 (เต็มแล้ว) รอประกาศรายชื่อ
กรณี ต้องการสละสิทธิ์กรุณาแจ้งกลับด่วน เพื่อทางโครงการฯ จะได้แจ้งลำดับสำรองแทนที่ต่อไป
-
รอบที่ 4 (เต็มแล้ว) รอประกาศรายชื่อ
กรณี ต้องการสละสิทธิ์กรุณาแจ้งกลับด่วน เพื่อทางโครงการฯ จะได้แจ้งลำดับสำรองแทนที่ต่อไป
หมายเหตุ สมัครก่อนมีสิทธิ์ก่อน และคณะฯจะแจ้งรายชื่อผู้ได้เข้ารับการอบรม ทางเว็บไซต์ของคณะฯให้ทราบต่อไป
(หากมีความจำเป็นสุดวิสัยที่ต้องยกเลิก โปรดแจ้งล่วงหน้าก่อนปิดรับสมัคร 3 วันทำการ)
ติดต่อสอบถาม
คุณนุชรี โทร. 0 2723 4927 มือถือ 08 9699 7880
แฟกซ์ 0 2723 4910 ในวันและเวลาราชการ
E-mail: nutcharee@it.kmitl.ac.th

นศ.พระจอมเกล้าลาดกระบัง ได้รับเลือกเป็น MSP FY18
นักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 5 คน ได้รับคัดเลือกจากบริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จํากัด ให้ดำรงตำแหน่ง Microsoft Student Partner FY18ประกอบด้วย นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 3คนในตำแหน่ง Business Leadคือ นายชนกนันท์ เสงี่ยมใจ, นายฐิติกร ล้อมลาย และนายธนเทพ ไทยแท้ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ 1 คน ในตำแหน่ง Technical Evangelistคือ นางสาววรนิษฐา ฮึกหาญสมบัติ และนักศึกษาจากวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง 1 คน ในตำแหน่ง Technical Evangelistคือ นายศุภวัทน์ บุญราช
สำหรับ Microsoft Student Partner FY18นั้นทางบริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จํากัด ได้คัดเลือกจากนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาจำนวนทั้งหมด 33 คน จากผู้สมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 230คน ทั่วประเทศ โดยได้ประกาศผลไปเมื่อวันที่ 1กันยายน 2560ซึ่งผู้ที่ได้รับการคัดเลือกนั้นจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนของ Microsoft ประจำมหาวิทยาลัย ตลอดระยะเวลา 1 ปี โดยจะได้ได้เรียนรู้และได้รับการถ่ายทอดความรู้จากทีมงานชั้นแนวหน้าของ Microsoft เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดและแบ่งปันให้กับเพื่อนๆ และคณาจารย์ในรั้วมหาวิทยาลัยเดียวกัน ถือได้ว่าเป็นอีกกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์และโอกาสในการพัฒนาตนเองอีกด้วย

รับสมัครเข้าศึกษาต่อ โท-เอก 2/2560
รับสมัครเข้าศึกษาต่อ โท-เอก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประจำภาคเรียนที่ 2/2560

ชนะเลิศ Cisco Thailand NetRiders 2017
นายธีรโชติ จิวะรังสินี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ไอทีลาดกระบัง) คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ในระดับ Cisco Certified Network Associate: CCNA จากการแข่งขันในโครงการ Cisco Thailand NetRiders 2017 ซึ่งจัดโดยบริษัท Cisco Systems (Thailand) จำกัด เมื่อวันพุธที่ 6 กันยายน 2560 ณ Cisco Systems (Thailand), Central World Office.
การแข่งขัน Cisco Thailand NetRiders 2017 เป็นการแข่งขันด้าน Computer Network เพื่อเฟ้นหาผู้มีความสามารถในระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อหาตัวแทนไปแข่งขันในระดับภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมสร้างศักยภาพทางด้าน Computer Network ของนักศึกษาอีกด้วย สำหรับการแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็น 2 ระดับด้วยกันคือ Cisco Certified Entry Networking Technician (CCENT) และ Cisco Certified Network Associate (CCNA)
สำหรับนายธีรโชติ จิวะรังสินี ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันในระดับภูมิภาค Asia Pacific and Japan เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2560 ณ วันที่ 28 กันยายน 2560 ณ Cisco Systems (Thailand) ซึ่งมีตัวแทนในแต่ละประเทศเข้าร่วมทั้งสิ้นจำนวน 21 คนจาก 16 ประเทศ โดยนายธีรโชติ จิวะรังสินี นักศึกษาไอทีลาดกระบัง ได้รั้งตำแหน่งที่ 5 ของการแข่งขันในครั้งนี้

เหรียญเงินจากการเข้าแข่งขัน Asia Pacific Choir Games 2017
นายวรุตม์ วัฒนกิจรุ่งโรจน์ และ นายธีระวัฒน์ ธีระธำรงรักษ์ 2 นักศึกษา จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ไอทีลาดกระบัง) กับการเป็นสมาชิกคณะประสานเสียง KMITL CHORUS คณะประสานเสียงนักศึกษารั้วพระจอมเกล้าลาดกระบัง โดยได้เข้าร่วมการเข้าแข่งขัน Asia Pacific Choir Games 2017 รายการ Musica Sacra with accompanimentในการจัดการแข่งขันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการประชุมเชิงปฏิบัติสำหรับวงขับร้องประสานเสียงทั่วเอเชียแปซิฟิค และทำให้กรุงโคลอมโบกลายเป็นศูนย์กลางการร้องเพลงในทวีปเอเชียแปซิฟิค ซึ่งงานนี้ถูกจัดขึ้นผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติที่ดีที่สุด มีการเชิญกรรมการผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการขับร้องและดนตรีมาจากทั่วโลก และยังเป็นการเปิดโอกาสให้วงหน้าใหม่ต่างๆได้มีโอกาสมาแสดงศักยภาพด้วยเช่นกัน ซึ่งจัดไปเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2560ที่ผ่านมา ณ กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา
สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้คณะประสานเสียง KMITL CHORUS ได้คว้ารางวัลเหรียญเงินมาครอง โดยมี อ.ขจรศักดิ์ กิตติเมธาวีนันท์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิชาวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสมของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้สอนและเป็นวาทยกร

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา (โท-เอก) ปีการศึกษา 2/2560
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา (โท-เอก) ปีการศึกษา 2/2560

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ )
สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ – 1 พฤศจิกายน 2560
สมัครทางอินเตอร์เน็ตได้ที่ : http://bit.it.kmitl.ac.th