

ชนะเลิศการแข่งขัน Imagine Cup Thailand 2015
สุดยอดของภาคภูมิใจของคณะไอทีลาดกระบังอีกหนึ่งครั้ง กับการที่นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน Imagine Cup Thailand 2015โครงการที่จัดขึ้นโดยบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และธนาคารกสิกรไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้จินตนาการและความรู้ ในการออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชั่นด้วยเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ ซึ่งแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ส่งเข้าร่วมการแข่งขันอาจจะกลายเป็นไอเดียที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมไอที ช่วยแก้ไขปัญหาระดับโลก หรือกลายเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในอนาคตสำหรับในปีนี้ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 13 แล้ว
โครงการ Imagine Cup Thailand 2015ได้จัดการแข่งขันออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ World Citizenship, Games และ Innovation โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 100 ทีมทั่วประเทศ โดยได้ทำการคัดให้เหลือเพียง 17 ทีม ก่อนที่จะคัดให้เหลือผู้ชนะประเภทละ 1 ทีม เพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน Imagine Cup ในรอบ World Finals ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-31 กรกฎาคม 2558 ที่เมืองซีแอตเทิล ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทไมโครซอฟท์
สำหรับทีมนักศึกษาไอทีลาดกระบังได้คว้ารางวัลชนะเลิศในประเภท Innovation ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 4 คน คือ นายหาญนรินทร์ เครือจิรายุส์, นายเอก ตั้งสมบูรณ์, นายนนท์ คนึงสุขเกษม และนายศรัญ อ่อนเอื้อน ได้ส่งผลงานที่มีชื่อว่า CoZpaceซึ่งเป็นเว็บแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยสามารถชวนเพื่อนเข้ามาร่วมกลุ่มในการค้นหาข้อมูล และสื่อสารกับเพื่อนได้ในกลุ่มได้อีกด้วย นอกจากนี้ตัวเว็บแอปพลิเคชันนี้ยังสามารถแชร์ข้อมูลที่ค้นหาในอดีต และค้นหาผลลัพท์ว่ามีความเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ต้องการค้นหาได้อีกด้วย

หลักสูตร การพัฒนาอุปกรณ์บนแนวคิดของ Internet of Things โดยใช้ Arduino platform โดยการสนับสนุนจากสมาคม ECTI
หลักการ
ในภาวะปัจจุบันที่เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีการใช้งานระบบสารสนเทศอย่างแพร่หลาย ทำให้ประเทศไทยประสบกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันระบบสารสนเทศได้เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์มากขึ้น อาทิเช่น การควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ การอ่าน การวัดค่าจากเซนเซอร์ต่างๆ แล้วส่งมาประมวลผลผ่านระบบสารสนเทศ ได้มีการพัฒนามากขึ้นตามลำดับ จนเป็นแนวคิดของ Internet of Things ที่สามารถให้ อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสื่อสารกันได้ผ่าน เครือข่าย Internet
ในฐานะที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมด้านสถานที่ มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ซึ่งคณะฯได้เล็งเห็น และตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับไมโครคอนโทรเลอร์ โดยได้เลือกใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino platform มาใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์ที่ทำงานบนแนวคิดของ Internet of Things เนื่องจาก Arduino เป็นโครงการพัฒนาไมโครคอนโทรลเลอร์ของตระกูล AVR แบบ Open Source และพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา C ซึ่งสามารถศึกษา และเข้าใจได้ง่าย อีกทั้งปัจจุบัน Arduino ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จึงสามารถหาข้อมูลต่างๆได้ง่าย
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศจึงจัดโครงการนี้ ในการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพสอดคล้องกับการก้าวไปของเทคโนโลยีในยุคสมัย เพื่อให้สามารถนำความรู้และทักษะทางด้าน ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino platform ไปใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถทำงานบนแนวคิดของ Internet of Things เพื่อสร้างงานนวัตกรรมใหม่ๆ ต่อไป
หลักสูตร
หลักสูตรอบรม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
- ส่วนที่ 1 Arduino
– ความรู้ความเข้าใจเกี่ยบกับไมโครคอนโทรลเลอร์พื้นฐาน
– การต่อวงจรพื้นฐานของ Arduino platform
– การเขียนโปรแกรมส่งค่าออกจากพอร์ต
– การเขียนโปรแกรมรับค่าเข้าพอร์ต
– การเขียนโปรแกรมสื่อสารแบบอนุกรม
– การเขียนโปรแกรมแสดงค่าออกจาก LCD
– การเขียนโปรแกรมสื่อสารแบบ I2C
– การเขียนโปรแกรมเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- ส่วนที่ 2 Internet of Things
– หลักการของ Internet of Things
– โปรโตคอล MQTT
– การใช้ Aroduino ในการสื่อสารโดยใช้ MQTT Protocol
– การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่าน MQTT
– การเชื่อมต่ออุปกรณ์ กับ Website โดยใช้ MQTT
วิทยากร
คณาจารย์ประจำของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
คุณสมบัติผู้สมัคร
- นักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 6 (ม.5 ขึ้น ม.6 หรือ เพิ่งสำเร็จการศึกษา)
- บุคลากร นักศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
- บุคคลทั่วไปที่สนใจ หรือผู้ที่เกี่ยว่ข้องกับงานด้านเทคโนโลยี Internet of Things
- สมาชิกสมาคม ECTI
ระยะเวลาและสถานที่อบรม
- จัดอบรมระหว่างวันที่ 11-12 และ 18-19 กรกฎาคม 2558 จำนวน 4 วัน
- ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. ระยะเวลารวมทั้งสิ้น 24 ชั่วโมง เฉพาะวันเสาร์และ/หรือวันอาทิตย์
- ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล.
การรับสมัคร
รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 8 กรกฎาคม 2558 (รวมจำนวน 40 คน)
- นักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 6 (ม.5 ขึ้น ม.6 หรือ เพิ่งสำเร็จการศึกษา) และบุคคลทั่วไป จำนวน 30 คน
- บุคลากร นักศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 10 คน
ค่าลงทะเบียนอบรม
- นักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 6 (ม.5 ขึ้น ม.6 หรือเพิ่งสำเร็จการศึกษา) และ บุคคลทั่วไป
ชำระค่าลงทะเบียน อัตราท่านละ 7,000 บาท
- บุคลากร นักศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
ชำระค่าลงทะเบียน อัตราท่านละ 5,500 บาท
- สมาชิกสมาคม ECTI
ชำระค่าลงทะเบียน อัตราท่านละ 6,500 บาท
**ค่าลงทะเบียน (รวมค่าบอร์ดทดลอง Arduino และอุปกรณ์อื่นๆ เอกสาร อาหารกลางวัน และอาหารว่าง)
วิธีการสมัครและชำระเงิน
-
สมัครผ่านระบบออนไลน์ โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน
- โอนเงินค่าลงทะเบียน เข้าบัญชี ออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเทคโนโลยีฯ เจ้าคุณทหาร เลขที่ บัญชี 088-259832-6 ชื่อบัญชี “โครงการพิเศษคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล.กระทำการแทนโดย นายนพพร โชติกกำธรและนางสาวพิจิตรา สุวรรณศรี"
- ส่งหลักฐานการโอนเงิน ทางโทรสาร หรือ ทาง e-mail ถึง คุณ นุชรี
- โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ อีกครั้งหลังโอนเงิน และ ส่งหลักฐานแล้ว
*** การสมัครจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อทางคณะได้รับชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ***
หมายเหตุ
- ผู้ที่ชำระค่าลงทะเบียนการอบรมแล้ว แต่ต้องการยกเลิกการอบรมจะต้องแจ้งยกเลิกภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2558 โดยคณะฯ จะคืนค่าลงทะเบียนให้ 70% หากพ้นกำหนดวันดังกล่าวจะไม่สามารถขอยกเลิกการอบรมได้
ติดต่อสอบถาม
คุณนุชรี โทร. 0 2723 4927 , 0 2723 4925 หรือ มือถือ: 08 9699 7880
แฟกซ์: 0 2723 4910 ในวันและเวลาราชการ
E-mail: nutcharee@it.kmitl.ac.th

Microsoft Azure Open Cloud Innovation อันดับ 2
Microsoft Azure Open Cloud Innovationอันดับ 2
จากโครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17: NSC 2015"(The Seventeenth National Software Contest: NSC 2015)โครงการที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาได้มีโอกาสพัฒนาทักษะการพัฒนาซอฟต์แวร์และนำเอาความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยสนับสนุนเงินทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจและกระตุ้นให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาทำการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยตนเองและเปิดโอกาสให้มีการประกวดแข่งขันชิงเงินรางวัลในระดับประเทศ อันจะเป็นการสร้างเวทีสำหรับเยาวชนและผู้ที่สนใจในการพัฒนาความรู้สู่การเป็นนักวิจัยระดับอาชีพต่อไป ซึ่งได้จัดการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศไปเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา ณ ห้องไอส์แลนด์ฮอลล์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ โดยในปีนี้ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) หนึ่งในผู้สนับสนุนโครงการ ได้มีรางวัลพิเศษให้กับทีมผู้เข้าแข่งขันจำนวน 2 รางวัลด้วยกันคือ Microsoft Azure Open Cloud Innovationและ Windows App Studio Junior Challenge (สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาเท่านั้น) โดยทั้ง 2 รางวัลจะแบ่งเป็น อันดับที่ 1 และอันดับที่ 2
นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประกอบด้วย นายหาญนรินทร์ เครือจิรายุส์/ นายเอก ตั้งสมบูรณ์/นายนนท์ คนึงสุขเกษม ได้คว้ารางวัล Microsoft Azure Open Cloud Innovationอันดับที่ 2 มาครอง โดยจะได้รับรางวัล Microsoft BizSpark แพคแกจสำหรับก่อตั้งธุรกิจฟรี ประกอบด้วยซอฟท์แวร์จากไมโครซอฟต์ มูลค่า $40,000 พร้อมทั้งสิทธิ์การใช้งาน Microsoft Azure เป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งมีมูลค่า $5,600 จากบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)
โดยผลงานที่ได้ส่งเข้าแข่งขันมีชื่อว่า“การพัฒนาระบบค้นคืนสารสนเทศสาหรับการค้นหาข้อมูลแบบกลุ่มความร่วมมือ”โดยใช้ชื่อระบบว่า “CoZpace” ได้แนวคิดมาจาก การค้นหาข้อมูลในปัจจุบันมีการใช้งานแบบแยกกันเป็นรายบุคคล แต่งานบางงานอาจจะต้องการการค้นหาร่วมกัน เพื่อให้งานสำเร็จเร็วขึ้น หรือแม้กระทั่งบางงานที่ต้องการความคิดเห็นจากหลายๆคน ทางทีมงานจึงได้ทำงานวิจัยในหลายๆด้านจนได้รับการยอมรับและตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการหลายฉบับ จนกระทั่งระบบได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยผู้ใช้งานสามารถระบุความเกี่ยวข้องของแต่ละเว็บไซด์ที่ได้จากการค้นหาพร้อมทั้งสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับเว็บไซด์นั้นได้ และยังสามารถตัดเฉพาะส่วนที่สนใจจากหน้าเว็บไซด์เก็บไว้ได้ เพื่อให้ผู้ร่วมค้นหาสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ดียิ่งขึ้นโดยไม่ต้องเสียเวลาไปกับข้อมูลเดิมที่ถูกค้นหาไปแล้วจากผู้ร่วมค้นหาคนอื่น ซึ่งสามารถดูกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกลุ่มการค้นหาได้ นอกจากนี้ผู้ร่วมค้นหาแต่ละคนยังสามารถสื่อสารกันได้ผ่านทางช่องสนทนาในระบบ และผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถสร้างและจัดการกลุ่มการค้นหาสำหรับแต่ละงาน จะเห็นว่าจากความสามารถทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นถูกรวมอยู่ในระบบซึ่งสามารถเข้าใช้งานได้จากทุกที่ทุกเวลาผ่านทางเว็ปไซด์ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลร่วมกันได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
ไอเดียดีๆ ของนักศึกษากลุ่มนี้เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถทำให้ผลงานชิ้นนี้สำเร็จขึ้นได้ ดร.ธีรพงศ์ ลีลานุภาพ อาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาทีมนี้ เป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญในการผลักดันให้ผลงานชิ้นนี้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ด้วยความเอาใจใส่ในการติดตามและการแนะนำองค์ความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการต่อการผลิตผลงานชิ้นนี้ จึงทำให้ผลงานออกมาสมบูรณ์จนเข้าตาคณะกรรมการจากทาง บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)
เด็กกลุ่มนี้ยังบอกอีกด้วยว่าทางคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล. ได้มีส่วนช่วยสนับสนุนให้ผลงานของพวกเขาเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนทางด้านอุปกรณ์เครื่องมือ ตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆ อีกด้วย

รองชนะเลิศอันดับ 2 Mobile e-Government Award 2014
รองชนะเลิศอันดับ 2จากโครงการแข่งขันประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application ภาครัฐ "Mobile e-Government Award 2014" (MEGA 2014)
นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประกอบด้วย นาย เขมทัต เล่งไพบูลย์ / นาย กิตติกร ประเสริฐศักดิ์ / นาย ตรีเทพ รัตนพิภพ / นาย ศุภชัย จันทร์เกตุ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทนิสิต นักศึกษา นักพัฒนาซอฟแวร์ทั่วไป จากโครงการแข่งขันประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application ภาครัฐ "Mobile e-Government Award 2014" (MEGA 2014) โดยใช้ชื่อทีม 404 App not found ผลงาน Be a HERO จัดโดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (EGA) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (SIPA) เขตอุตสาหกรรมซอฟแวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand)และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เมื่อระหว่างวันที่ 14 พ.ย. 57 – 26 มี.ค. 58 ณ ห้อง Sapphire Suites ชั้น ๗ โรงแรม โนโวเทล แพลตตินั่ม ประตูน้ำ
โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา Mobile Application ของภาครัฐ และพัฒนาตามแนวทางของ Digital Economy เป็นการส่งเสริมการยกระดับคุณภาพบริการของรัฐให้ประชาชน ให้ได้รับความสะดวกสบายในการเข้าถึงบริการ e-Service ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น สำหรับนักศึกษาไอทีลาดกระบังได้ส่งผลงานที่มีชื่อว่า Be a HERO เข้าประกวดในครั้งนี้ Be a HERO เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้บนสมาร์ทโฟน ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางการแจ้งปัญหาของประชาชนและการติดต่อด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ ของรัฐบาล โดยอาศัยรูปแบบของเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) เป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขในทางที่ดี ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น

ประกาศรายชื่อผู้มีสทธิ์เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี แบบรับตรง ปีการศึกษา 2558
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2558 ตามประกาศแนบนี้
http://www.reg.kmitl.ac.th/uploads/PDF_2015-03-12_14-50-47_yTGHg.pdf

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์แบบรับตรง ปีการศึกษา 2558
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ แบบรับตรง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2558

ประกาศสอบภาษาอังกฤษปีการศึกษา 2557
ประกาศจัดสอบเพื่อวัดระดับภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2557
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 ที่ยังไม่ได้สอบ หรือสอบไม่ผ่าน ต้องสอบทุกคน
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 ที่ต้องการสอบ สามารถสอบได้
นักศึกษาสามารถลงชื่อเพื่อยื่นความจำนงสอบวัดระดับภาษาอังกฤษได้ที่งานบริการการศึกษา ตั้งแต่วันนี้ – วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2558
โดยจะสอบวัดระดับภาษาอังกฤษในวันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2558 เวลา 09.00-12.00 น. ณ อาคารเทคโนโลสารสนเทศ

โครงการอบรม “การโปรแกรมหุ่นยนต์อีทีด้วยจาวาเบื้องต้น” Introduction to ET Robot Programming With Java รุ่น 2
หลักการ
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้รับความสนใจในหมู่เยาวชนในประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสังเกตุได้จากกิจกรรมที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้จัดขึ้น ทั้งในรูปแบบของการแข่งขันและการฝึกอบรม ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ดังกล่าวข้างต้นเป็นพื้นฐาน ดังนั้น โครงการนี้จัดทาขึ้น เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ของหุ่นยนต์ในเบื้องต้นโดยใช้เทคโนโลยีฝังตัวสาเร็จรูปร่วมกับการโปรแกรมด้วยภาษาจาวาทั้งนี้ก็เพื่อให้เยาวชนได้มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีหุ่นยนต์อีทีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาจาวาและการประยุกต์ภาษาจาวาในการโปรแกรมเพื่อควบคุมเซ็นเซอร์และแอคทูเอเตอร์ของหุ่นยนต์ให้สามารถดาเนินการตามภารกิจที่กาหนดได้โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นการช่วยเสริมสร้างศักยภาพของเยาวชนไทยให้มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพิ่มขึ้นสามารถนาความรู้ไปพัฒนาต่อยอดในการศึกษาระดับสูงขึ้นหรือสามารถนาไปพัฒนาหุ่นยนต์สาเร็จรูปให้ใช้งานได้จริงหรือเทียบเท่าหุ่นยนต์ที่มีสมรรถนะชั้นสูงได้รวมทั้งนาความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการแข่งขันหุ่นยนต์ในเวทีระดับชาติหรือระดับนานาชาติต่อไปในอนาคต
เนื้อหาการอบรม
ประกอบด้วยภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ เนื้อหาดังนี้
- การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาจาวาเบื้องต้น
- โครงสร้างองค์ประกอบและการจัดสร้างหุ่นยนต์อีที
- การโปรแกรมหุ่นยนต์อีทีด้วยภาษาจาวา
วิทยากร
คณาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
คุณสมบัติของผู้สมัคร
มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 (กำลังศึกษาอยู่ปัจจุบัน)
ระยะเวลาและสถานที่อบรม
ในวันที่ 25 มิ.ย.และ 1-2 ก.ค 2560 (เสาร์และอาทิตย์) จำนวน 3 วัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ อาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล.
การรับสมัคร
รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – ปิดรับสมัคร
จำนวนรับสมัคร
30 คน
ค่าลงทะเบียน
ฟรี !! ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ตารางการอบรม
วันที่ | เวลา | รายการ (ภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ) |
วันที่ 1 |
08.30 – 09.00 น. 09.00 – 16.00 น. |
ลงทะเบียน การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาจาวาเบื้องต้น |
วันที่ 2 |
09.00 – 16.00 น | โครงสร้างองค์ประกอบและการจัดสร้างหุ่นยนต์อีที |
วันที่ 3 |
09.00 – 16.00 น | การโปรแกรมหุ่นยนต์อีทีด้วยภาษาจาวา |
วิธีสมัคร
1. สมัครผ่านระบบออนไลน์ ** ปิดรับสมัคร **
2. Upload หลักฐานการสมัคร (เช่น สำเนาบัตรประจำตัวนักเรียน หรือ ใบรับรองการศึกษา หรือ ปพ.1) คลิ๊ก
หมายเหตุ สมัครก่อนมีสิทธิ์ก่อน และคณะฯจะแจ้งรายชื่อผู้ได้เข้ารับการอบรม ทางเว็บไซต์ของคณะให้ทราบต่อไป (หากมีความจำเป็นสุดวิสัยที่ต้องยกเลิก โปรดแจ้งล่วงหน้าก่อนปิดรับสมัคร 3 วันทำการ)
ติดต่อสอบถาม
คุณนุชรี โทร. 0 2723 4927 มือถือ 08 9699 7880
แฟกซ์ 0 2723 4910 ในวันและเวลาราชการ
E-mail: nutcharee@it.kmitl.ac.th

รางวัลรองชนะเลิศสุดยอดฝีมือโทรคมนาคมและไอซีที ครั้งที่ 7
นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง 2550) นาย วีร์ อายุวนานนท์ และ นาย รัชพล กิตติญาณปัญญา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล. คว้ารางวัล ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 ในโครงการ “ค้นหาสุดยอดฝีมือโทรคมนาคมและไอซีที เฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่7" จัดโดย มูลนิธิ มสวท. ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน คณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสาขาช่างโทรคมนาคม คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการเฉลิมพระเกียรติ มูลนิธิ 5 ธันวามหาราช สถาบันวิชาการ ทีโอที บริษัท ทีโอทีจำกัด(มหาชน)บริษัท จีเอเบิล จำกัด และบริษัท คิงส์ อินเทลลิเจ้นท์ เทคโนโลยี จำกัด เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 รอบชิงชนะเลิศ (ภาคปฏิบัติ) ณ สถาบันวิชาการทีโอที จ.นนทบุรี ซึ่งเป็นการแข่งขันเพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Data Communication และ Network และการนำความรู้ด้าน Data Communication มาประยุกต์ใช้กับ Life Style

ขอเชิญร่วมทำบุญเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะไอทีลาดกระบังและวันมาฆบูชา
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้