ข่าวศิลปวัฒนธรรม


พระคุณของพ่อเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ
“พระคุณของพ่อ” เนื่องในมหามงคลสมัยคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ที่จะมาถึงข้างหน้านี้ ปวงชนชาวไทยต่างพากันรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ผู้ได้ทรงอนาทรห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ ทรงปรารถนาอยู่เนืองนิตย์ที่จะให้พสกนิกรของพระองค์ ผู้มีความทุกข์เดือดร้อนให้พ้นทุกข์ และให้ทุกคนมีความเจริญและสันติสุข จึงได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งปวง และได้ทรงดำเนินโครงการอื่นๆ อีกมาก เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พสกนิกรของพระองค์อย่างทั่วถึง ด้วยพระเมตตาและขันติธรรม ด้วยความเสียสละอย่างสูง โดยมิได้ทรงย่อท้อต่อความเหนื่อยยากของพระองค์เอง ขอแต่ให้พสกนิกรของพระองค์พ้นทุกข์ ได้ถึงความเจริญและสันติสุข ก็ทรงพอพระราชหฤทัยแล้ว ความอนาทรห่วงใยต่อพสกนิกรของพระองค์นั้นเปรียบดังบิดาอนาทรต่อบุตร ประชาชนทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามพระองค์ว่า “พ่อแห่งชาติ” ในวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ ที่จะมาถึงข้างหน้านี้ พระคุณของพ่อ ซึ่งครอบคลุมถึงพระคุณของแม่ด้วย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ “พ่อแห่งชาติ” และเพื่อเทิดทูนบูชาพระคุณของพ่อทั้งหลายที่มีต่อลูกๆ เพื่อที่ลูกๆ จักได้สำเหนียกในพระคุณของท่าน ได้ระลึกถึงพระคุณ คิดและกระทำตอบแทนพระคุณของท่านตามกำลังสติปัญญาและกำลังทรัพย์ ในโอกาสอันสมควรสืบต่อไป โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับพระคุณของพ่อตามเอกสารแนบ

วันนี้เราเตรียมดอกมะลิให้แม่แล้วหรือยัง?
เนื่องในมหามงคลสมัยคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคมที่จะมาถึงข้างหน้านี้ ปวงชนชาวไทยต่างพากันรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ผู้ได้ทรงอนาทรห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ ทรงปรารถนาอยู่เนืองนิตย์ที่จะให้พสกนิกรของพระองค์ ผู้มีความทุกข์เดือดร้อนให้พ้นทุกข์ และให้ทุกคนมีความเจริญและสันติสุข จึงได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งปวง เคียงคู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้แก่ การส่งเสริมศิลปะอาชีพ ให้ราษฎรผู้ด้อยโอกาสได้มีวิชาอาชีพไปใช้ประกอบสัมมาอาชีวะ เพิ่มพูนรายได้ของตน ให้พอกินพอใช้ และได้ทรงดำเนินโครงการอื่นๆ อีกมาก เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พสกนิกรของพระองค์อย่างทั่วถึง ด้วยพระเมตตาและขันติธรรม ด้วยความเสียสละอย่างสูง โดยมิได้ทรงย่อท้อต่อความเหนื่อยยากของพระองค์เอง ขอแต่ให้พสกนิกรของพระองค์พ้นทุกข์ ได้ถึงความเจริญและสันติสุข ก็ทรงพอพระราชหฤทัยแล้ว ความอนาทรห่วงใยต่อพสกนิกรของพระองค์นั้นเปรียบดังมารดาอนาทรต่อบุตร ประชาชนทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามพระองค์ว่า “พระแม่ของชาติ” ในวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิ ริกิตติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ ที่จะมาถึงข้างหน้านี้ พระคุณของแม่ ซึ่งครอบคลุมถึงพระคุณของพ่อด้วย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ “พระแม่ของชาติ” และเพื่อเทิดทูนบูชาพระคุณของแม่ทั้งหลายที่มีต่อลูกๆ เพื่อที่ลูกๆ จักได้สำเหนียกในพระคุณของท่าน ได้ระลึกถึงพระคุณ คิดและกระทำตอบแทนพระคุณของท่านตามกำลังสติปัญญาและกำลังทรัพย์ ในโอกาสอันสมควรสืบต่อไป โดยมีรายละเอียดพระคุณแม่ และพุทธพจน์และข้อคิดต่างๆ ตามเอกสารแนบ

ขอเชิญร่วมฟังปาฐกถาธรรม ในวันพุธที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕
ขอเชิญร่วมฟังปาฐกถาธรรมพิเศษ ในหัวธรรมที่ว่า
“จุดมุ่งหมายแห่งความสำเร็จ”
โดยวิทยากรทีมงาน พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต
ในวันพุธที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๓๐๐ น. ถึง เวลา ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้องประชุมใหญ่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ขอเรียนเชิญนักศึกษาและบุคลากรของคณะและของสถาบันทุกท่านเข้าร่วมฟังโดยพร้อมเพียงกัน

วันขึ้นปีใหม่
ส่งความสุขในวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๕
ส่งความสุข ปีใหม่ อวยชัยท่าน
จงสำราญ สำเร็จ เผด็จผล
อีกอายุ วรรณะ สุขะดล
พละล้น พ้นทุกข์ มีสุขเอย
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว ๔ ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ ๒ กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน ๒ ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยะคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๒ เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๗ ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๔ เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ ๑ เมษายนมาเป็นวันที่ ๑ มกราคมก็คือ
๑. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
๒. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
๓. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
๕. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
๑. การไหว้พระทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
๒. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
๓. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้นกิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี จะมีการไหว้พระทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขวัญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย
งานกิจการนักศึกษา
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล.