ปริญญาตรี

หลักสูตรปรับปรุง พศ. 2560

divider

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Science Program in Information Technology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Science (Information Technology)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) B.Sc. (Information Technology)

ปรัชญาของหลักสูตร

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีแนวคิดในการผลิต บัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความรับผิดชอบต่อสังคมในการประกอบวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และสามารถสื่อสารตลอดจนทำงานร่วมกับผู้อื่นในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลักสูตรออกแบบมาเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะทั้งใน มิติเชิงกว้างและเชิงลึก (T-shaped Skills) กล่าวคือ ความรู้เชิงกว้างด้านพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบธุรกิจ  พร้อมไปกับการมีทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะทางตามแขนงวิชาที่เลือกเรียน อันได้แก่ ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้านการออกแบบและบริหารระบบเครือข่าย และด้านการพัฒนาสื่อประสมและเกม

ในส่วนของการจัดการเรียนการสอน คณะส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษา โดยมีปรัชญาในการพัฒนานักศึกษาให้เต็มตามศักยภาพที่มี เช่นการเปิดโอกาสในการพัฒนาและเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับนักศึกษาที่มีศักยภาพสูง ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงและพัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ ของนักศึกษาที่ประสบปัญหาในการเรียน

จำนวนหน่วยกิต รูปแบบ และประเภทของหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตที่เรียน
ตลอดหลักสูตร
รูปแบบของหลักสูตร ประเภทของหลักสูตร
130  หน่วยกิต หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
  • หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
  • หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ

ภาษาที่ใช้

หลักสูตรจัดการศึกษา เป็นภาษาไทย

แผนการรับนักศึกษา

ปีละ 150 คน

กลุ่มวิชาเฉพาะแขนง และ ตัวอย่างอาชีพ

กลุ่มวิชาเฉพาะแขนง ตัวอย่างอาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
แขนงวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
(Software Engineering)
  • นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer)
  • นักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer)
  • ผู้ทดสอบโปรแกรม (Software Tester)
  • นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
  • นักออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ (Software Architect)
  • ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ (Project Manager Assistant)
แขนงวิชาเทคโนโลยีเครือข่ายและระบบ
(Network and System Technology)
  • นักออกแบบระบบเครือข่าย (Network System Designer)
  • นักพัฒนาระบบเครือข่าย (Network System Engineer)
  • ผู้ดูแลระบบเครือข่าย (Network System Administrator)
แขนงวิชาการพัฒนาสื่อประสมและเกม
(Multimedia and Game Development)
  • นักพัฒนาเกม (Game Developer)
  • นักออกแบบและพัฒนาเว็บ (Web Designer/Developer)
  • นักออกแบบ UI/UX
  • นักผลิตสื่อดิจิทัล (Digital Media Content Creator)

นอกจากนี้แล้ว บัณฑิตเมื่อสำเร็จการศึกษาหลักสูตรนี้ จะมีความรู้ความสามารถพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงพอในการประกอบอาชีพทั่วไป เช่น นักเทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ผู้ประสานงานโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น