กลุ่ม NI

divider

Intelligent Systems and Networks Research Laboratory

ISN Lab ห้องปฏิบัติการวิจัยเฉพาะทาง Intelligent Systems and Networks (ISN) เป็นห้องปฏิบัติการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบและเครือข่ายในด้านต่าง ๆ เช่นการจัดสรรทรัพยากรในเครือข่าย Software Defined Networking (SDN) ขนาดใหญ่ (Large SDN) การทำ IT Automation บน เครือข่ายและระบบบน Cloud Services ต่าง ๆ รวมถึงการออกแบบทั้ง Protocols และ Algorithms ที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในเครือข่ายสำหรับเหตุการณ์เฉพาะเจาะจง เช่น การค้นหาเส้นทางที่เหมาะสมในการอพยพผู้ประสบภัยพิบัติ เช่น Tsunami หรือ แผ่นดินไหว เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ Algorithms และ Protocols บนเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย (Wireless Sensor Networks) เพื่อยืดอายุการใช้งานให้เครือข่าย WSN ทำงานได้ยาวนานมากขึ้น
อาจารย์ประจำห้องปฎิบัติการ: รศ.ดร.โชติพัชร์ ภรณวลัย, ผศ.ดร.ลภัส ประดิษฐ์ทัศนีย์, ดร.ชยานนท์ ทรัพย์อาภา

Intelligent Embedded Systems Innovation Research Laboratory

IESI Lab ห้องปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมระบบฝังตัวอัจฉริยะ (Intelligent Embedded Systems Innovation) หรือ IESI ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบฝังตัว โดยหัวข้องานวิจัยและพัฒนาครอบคลุมองค์ประกอบระบบฝังตัวทั้งในระดับฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์พื้นฐานไปจนถึงระดับแอปพลิเคชัน รวมทั้งประยุกต์ศาสตร์การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine learning) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาสร้างความอัจฉริยะให้กับระบบฝังตัวในอนาคต นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการสร้างงานวิจัยและพัฒนาให้กับนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี-โท-เอก ให้สามารถสร้างผลงานวิจัยที่ใช้แก้ปัญหาหรือปรับปรุงวิธีการในปัจจุบัน และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาโครงงานที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ตัวอย่างหัวข้อผลงานวิจัยและพัฒนาภายใต้ห้องปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมระบบฝังตัวอัจฉริยะประกอบด้วย หุ่นยนต์กู้ภัยเทคโนโลยีฝังตัว การติดตามหุ่นยนต์เคลื่อนที่ในอาคารโดยใช้เซ็นเซอร์ความเฉื่อยและเทคนิคฟิงเกอร์ปรินท์ การประยุกต์อัลกอริทึมมดสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานให้กับหุ่นยนต์ ระบบมอร์นิเตอร์เครื่องบันทึกอุณหภูมิแบบไฮบริดจ์ในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ การปรับปรุงกระบวนการวิเคราะห์เชิงดำดับชั้นด้วยการโปรแกรมเชิงเส้นสำหรับการตัดสินใจแฮนด์โอเวอร์แนวตั้ง การระบุตำแหน่งภายในอาคารด้วยกลไกการจำแนกประเภท การเลือกอุปกรณ์เซนเซอร์ไร้สายในอุตสาหกรรมก๊าซด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นและแผนภาพต้นไม้ตัดสินใจ การให้บริการเข้าถึงเครือข่ายวายฟายโดยใช้โดรนในบริเวณลานเก็บตู้คอนเทนเนอร์ หุ่นยนต์จัดเก็บขยะอัจฉริยะ
อาจารย์ประจำห้องปฎิบัติการ: ผศ.ดร. โอฬาร วงศ์วิรัตน์, ผศ.ดร. อนันตพัฒน์ อนันตชัย, ดร. สุพัณณดา โชติพันธ์

Smart System Research Laboratory

SS Lab ห้องปฏิบัติการวิจัยสมาร์ทซิสเต็มถูกก่อตั้งเพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิทยาการและการประยุกต์ต่าง ๆ เช่น ระบบจัดการเครือข่ายอัตโนมัติ การจัดการและควบคุมการจราจรเครือข่ายอัจฉริยะ เครือข่ายเฉพาะกิจความยืดหยุ่นสูง เครือข่ายเซนเซอร์ไร้สาย และระบบการขนส่งอัจฉริยะ
ตัวอย่างผลงานวิจัยที่ผ่านมา ได้แก่ ระบบสื่อสารแบบไร้โครงสร้างพื้นฐานสำหรับสถานการณ์ภัยพิบัติ ระบบเก็บข้อมูลการจราจรแบบไม่พึ่งพาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบประสานงานรถและหน่วยบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน รถขับเคลื่อนที่ตามกันด้วยตัวเองอัตโนมัติ รวมทั้งระบบจัดการเครือข่ายและควบคุมการจราจรบนเครือข่ายที่เขียนโปรแกรมควบคุมได้
อาจารย์ประจำห้องปฎิบัติการ:  รศ.ดร. สุขสันต์ พาณิชพาพิบูล, ผศ.ดร. สุเมธ ประภาวัต

Internet of Things (IoT Innovation Laboratory)

ห้องปฏิบัติการสร้างงานนวัตกรรม ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อคิดค้นและสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมบนแนวคิด Internet of Things ในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา สุขภาพ การเกษตร การดำเนินชีวิตประจำวัน และ อุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ของระบบฝังตัว มุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถสร้างผลงาน และงานวิจัยประยุกต์ที่นำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาโครงงานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมีความสะดวกสบาย และตอบสนองต่อความต้องการของภาครัฐและเอกชนเพื่อปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
อาจารย์ประจำห้องปฎิบัติการ:  รศ.ดร. ปานวิทย์ ธุวะนุติ