กลุ่ม MET

divider

Passionate Innovation Laboratory

PiLab เป็นห้องวิจัยทางด้านคอมพิวเตอร์วิทัศน์ มัลติมีเดีย (เช่น เทคโนโลยีความจริงเสริม เทคโนโลยีความจริงเสมือน หรือเทคโนโลยีความจริงผสม) และพฤติกรรมมนุษย์ ที่มีพื้นฐานมาจากความสนใจอันหลากหลายของกลุ่มผู้วิจัย อีกทั้งยังเปิดกว้างสำหรับหัวข้อวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและมีแรงผลักดันมาจากความชื่นชอบและหลงไหล (passion) ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เราเชื่อมั่นว่า การพัฒนาองค์ความรู้ อยู่บนหลักความชื่นชอบ ใส่ใจและหลงใหล บวกกับความเชี่ยวชาญที่ผสมผสานความหลายหลายของทีมผู้วิจัย จะเป็นพลังสำคัญที่ เป็นตัวขับเคลื่อนให้ผลิตชิ้นงาน ผลงานวิจัย องค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับโลกในศตวรรษที่ 21 ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วได้เป็นอย่างดี
อาจารย์ประจำห้องปฎิบัติการ: ผศ.ดร.สิริอร วิทยากร, ดร.พรสุรีย์ แจ่มศรี, ดร.สามารถ หมุดและ

Interactive Media and Security Laboratory

iMSEC Lab เป็นห้องวิจัยทางด้านมัลติมีเดียซึ่งทำวิจัยโดยเน้นเพื่อให้การเรียนรู้ และการใช้งานเทคโนโลยีทางด้านมัลติมีเดียของผู้ใช้เป็นไปได้ง่ายมากยิ่งขึ้นภารกิจของ IME ในแง่วิจัยได้แก่ การศึกษาและพัฒนาหลักการปฏิสัมพันธ์ ด้วยสื่อประสมระหว่างคอมพิวเตอร์และผู้ใช้ เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆการออกแบบและประยุกต์ใช้ สื่อปฏิสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ การศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคนิคเพื่อ การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์, การศึกษาวิจัย และพัฒนาเทคนิค ตลอดจนเครื่องมือ เพื่อการสร้างเนื้อหาสื่อประสม สื่อปฏิสัมพันธ์ และ เกมคอมพิวเตอร์
อาจารย์ประจำห้องปฎิบัติการ: รศ.ดร.นพพร โชติกกำธร, รศ.ดร. จันทร์บูรณ์ สถิตวิริยวงศ์

Image Processing and Deep Learning

IPDL Lab เป็นห้องวิจัยที่สนใจในด้านการประมวลผลภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเพื่อปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น หรือค้นหาวัตถุในภาพ หรือ สอนให้คอมพิวเตอร์รู้จำวัตถุในภาพ คล้ายกับมนุษย์ที่มีดวงตา 2 ดวง มองภาพส่งต่อให้สองเรียนรู้ รู้จำวัตถุต่าง ๆ ได้ โดยสรุปในภาพรวม ห้องวิจัยนี้สนใจศึกษาค้นคว้า พยายามทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ เรียนรู้ รู้ว่าวัตถุต่าง ๆ จากภาพที่ป้อนเป็นอินพุทเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวก็ตาม
อาจารย์ประจำห้องปฎิบัติการ: ผศ.ดร.กันต์พงษ์ วรรัตน์ปัญญา, ผศ.ดร.ธราวิเชษฐ์ ธิติจรูญโรจน์

Machine Intelligence and Vision Laboratory

MIV Lab ห้องปฏิบัติการวิจัยวิชั่นและปัญญาประดิษฐ์ มุ่งเน้นงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์แบบสหวิทยาการ ในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนและความท้าทายที่สำคัญของวิชันเชิงคำนวณและปัญญาประดิษฐ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่เกี่ยวกับการทำความเข้าใจสภาวะแวดล้อมแบบเรียลไทม์โดยใช้วิธีการเรียนรู้เชิงลึกขั้นสูง ห้องปฏิบัติการวิจัยให้ความสำคัญกับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว การสร้างแผนที่และการระบุตำแหน่ง การนำทาง การพิสูจน์ตัวตนด้วยข้อมูลทางชีวภาพ การเรียนรู้แบบเสริมเพิ่ม ความเป็นจริงเสริม และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
อาจารย์ประจำห้องปฎิบัติการ: ผศ.ดร. สมเกียรติ วังศิริพิทักษ์