กลุ่ม ISIS

divider

Computational Intelligence Laboratory

CI Lab เป็นห้องห้องปฏิบัติการวิจัย เพื่อพัฒนาระบบอัจฉริยะที่มีขั้นตอนการคิดและการเรียนรู้ เช่นเดียวกับมนุษย์โดยสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองจากประสบการณ์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในอดีต และเพื่อพัฒนาอัลกอริทึมทางComputational Intelligence เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของมนุษย์ หรือแม้กระทั่งทำงานแทนที่มนุษย์
อาจารย์ประจำห้องปฎิบัติการ: รศ.ดร. อาริต ธรรมโน

Data Mining and Data Exploration Laboratory

DME Lab จัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย พัฒนา ประยุกต์ใช้ เผยแพร่ให้ความรู้ พัฒนาบุคลากรเทคโนโลยี และบริการสังคมทางด้านดาต้าไมน์นิ่ง (Data Mining) พร้อมทั้งการสำรวจและจัดเตรียมข้อมูล (Data Exploration) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจ โดยที่เทคโนโลยีทางด้านดาต้าไมน์นิ่งนี้ สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอาทิเช่น การนำดาต้าไมน์นิ่งมาเป็นเครื่องมือในการศึกษารูปแบบและพฤติกรรมของลูกค้าที่ใช้บริการกับองค์กรเพื่อใช้ในการปรับปรุงสินค้าและบริการขององค์กร ให้เป็นที่พอใจแก่ลูกค้ามากที่สุด และที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีหลายหน่วยงานให้ความสำคัญ และขอคำปรึกษา เกี่ยวกับการทำดาต้าไมน์นิ่งในลักษณะต่างๆ
อาจารย์ประจำห้องปฎิบัติการ: รศ.ดร. วรพจน์ กรีสุระเดช

Knowledge Management and Knowledge Engineering Laboratory

KMAKE Lab เป็นศูนย์วิจัยและค้นคว้าทางวิศวกรรมองค์ความรู้ และการจัดการองค์ความรู้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เทคโนโลยีการค้นพบความรู้ รวมถึง การสืบค้นข้อมูลข่าวสาร การรวบรวมข้อมูล และการสกัดข่าวสาร เทคโนโลยีการแทนและการจัดระเบียบความรู้ เทคโนโลยีการทำเหมืองข้อมูลและเหมืองข้อความ รวมถึงการเรียนรู้ด้วยเครื่อง การสร้างแบบจำลองการทำนาย การประเมินแบบจำลอง เทคโนโลยีการกระจายองค์ความรู้ ผลกระทบของการจัดการองค์ความรู้กับองค์กรและสังคม ตัวอย่างหัวข้อการวิจัย เช่น การสกัดความรู้จากหน้าเว็บ การทำเหมืองข้อความจากสื่อสังคมออนไลน์ การสร้างและใช้งานออนโทโลยีในแอพพลิเคชั่นต่างๆ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ และการสร้างโมเดลการเรียนรู้เชิงลึก
อาจารย์ประจำห้องปฎิบัติการ: รศ.ดร. พรฤดี เนติโสภากุล, ผศ.ดร. สุภกิจ นุตยะสกุล, ผศ.ดร. บัณฑิต ฐานะโสภณ

Data Science & Machine Learning Research Laboratory

DSMLR Lab มุ่งเน้นทางด้านการพัฒนาอัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่องจักรใหม่ ๆ เพื่อที่จะประยุกต์ใช้ในแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น เคมีสารสนเทศศาสตร์ ชีวสารสนเทศศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ การตรวจจับการมอง การวิเคราะห์ข้อความ เป็นต้น ซึ่งมีความร่วมมือในโครงการต่าง ๆ กับอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
อาจารย์ประจำห้องปฎิบัติการ: รศ.ดร. กิติ์สุชาต พสุภา

Intelligence Lab for Cognitive and Business Analytics

IcBiz Lab ห้องปฏิบัติการอัจฉริยะสำหรับการวิเคราะห์เชิงธุรกิจและการรับรู้เสมือนมนุษย์ มุ่งเน้นด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำการเรียนรู้ (learning) และความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (insight) ที่ถูกซ่อนอยู่ภายในข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ เช่น ภาษาธรรมชาติ การกระทำ การรับรู้ และพฤติกรรมของมนุษย์ งานวิจัยและความเชี่ยวชาญของห้องปฏิบัติการนี้ครอบคลุมความรู้พหุศาสตร์และสหวิทยา เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ภาษาศาสตร์ (Linguistics) และประชานจิตวิทยา (Cognitive Psychology) ในการอธิบาย (explaining) ให้เหตุผล (reasoning) และสรุปข้อมูล เป็นองค์ความรู้ (knowledge) เพื่อใช้การตัดสินใจต่าง ๆ อย่างชาญฉลาด (wisdom) โดยห้องปฏิบัติการวิจัยนี้มุ่งเน้นการนำความเชี่ยวชาญด้านนี้มาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติในภาคธุรกิจต่าง ๆ เช่น การเงิน การค้าปลีก การวางแผนทางการตลาด การแพทย์ การเกษตร และการศึกษา เป็นต้น
อาจารย์ประจำห้องปฏิบัติการ: ผศ.ดร. กนกวรรณ อัจฉริยะชาญวณิช, รศ.ดร. ธีรพงศ์ ลีลานุภาพ, ผศ. ศรีนวล นลินทิพยวงศ์, ดร.นนท์ คนึงสุขเกษม