รองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดผลงานนวัตกรรมเทคโนโลยีสนับสนุนการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ ประจำปี พ.ศ. 2566

ทีมนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการประกวดผลงานนวัตกรรมเทคโนโลยีสนับสนุนการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ (ระดับอุดมศึกษา) ประจำปี พ.ศ. 2566 (Innovation for Crime Combating Contest 2023: I4C-2023) ที่จัดขึ้นโดย กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ อาคารบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี

 

ทีมนักศึกษาคณะไอทีลาดกระบัง ที่คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากงานในครั้งนี้ ประกอบ 2 สมาชิก คือ นางสาวชัญญณัท พุทธสุธิกัน และ นายวาธิน พรมฝ้าย (นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ) โดยผลงานที่ได้รับรางวัล มีชื่อว่า “ต้นแบบนวัตกรรมตรวจจับการปลอมแปลงใบหน้าเพื่อสนับสนุนการสอบสวนบนสื่อดิจิทัล (Deepfake Detection in Digital Media Forensics)” ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ ภูมิฤทธิกุล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

 

สำหรับผลงาน “ต้นแบบนวัตกรรมตรวจจับการปลอมแปลงใบหน้าเพื่อสนับสนุนการสอบสวนบนสื่อดิจิทัล (Deepfake Detection in Digital Media Forensics)” นี้ คือโมเดลและต้นแบบระบบเว็บแอปพลิเคชัน สามารถใช้งานตรวจจับวิดีโอที่เป็น Deepfake ได้ดี โดยข้อมูลภาพที่นำเข้ามาตรวจสอบสามารถบอกได้ว่าเป็น Deepfake หรือไม่ และให้ ระดับความมั่นใจในการทำนาย เป็นร้อยละ โดยระบบที่พัฒนาขึ้น เป็นต้นแบบนวัตกรรมที่อนาคตจะสามารถปรับปรุงฐานข้อมูลภาพ และพัฒนาให้โมเดลสามารถตรวจจับภาพที่สร้างจาก Deepfake ที่ ได้หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะภาพที่สร้างจาก Deepfake ที่มีความซับซ้อน โดยการฝึกฝนโมเดลเพิ่มขึ้น ได้เอง โดยให้เหมาะกับฐานข้อมูลใบหน้าของคนไทยได้อีกด้วย เนื่องจากต้นแบบเป็นเครื่องมือที่พัฒนาแบบ Open-source software โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทางต้นแบบเว็บไซต์ก็สามารถเพื่อสร้างประโยชน์ในวงกว้างทางสังคม ช่วยสนับสนุนการสอบสวนบนสื่อดิจิทัล และเป็นส่วนช่วยในการแก้ปัญหาเรื่องการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ กับประชาชนทั่วไป ให้ใช้งานได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย