ปริญญาเอก

รายละเอียดอื่นๆ

divider

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

สถานภาพของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรปรับปรุง 2560 กำหนดเปิดสอนเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2561

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยม ข้อกำหนดต่างๆ เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบันว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559
2. มีคุณสมบัติเพิ่มเติม ดังนี้
2.2.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง หรือ
2.2.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ที่เรียนวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับปริญญาโทมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง หรือ
2.2.3 สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในสาขาอื่น ๆ โดยได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตร

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

การรับนักศึกษาปริญญาเอก จะต้องผ่านการสอบข้อเขียน 1 วิชา คือ ทดสอบความถนัดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยจะทดสอบทักษะการใช้เหตุผลและการวิเคราะห์
และ ยื่นคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษจากสถาบันทดสอบภาษาอังกฤษ หากผ่านการสอบข้อเขียน จะเข้ารับการสอบสัมภาษณ์
นอกจากการสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์แล้ว นักศึกษาจะต้องมีหนังสือรับรองการรับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์จากอาจารย์ประจำคณะฯ จึงจะมีสิทธิ์เข้าศึกษาได้

ระบบการจัดการศึกษา

ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดยใน 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ
ซึ่ง 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์

และภาคฤดูร้อน ให้กำหนด ระยะเวลาโดยสัดส่วนเทียบเคียงได้กับภาคการศึกษาปกติ
โดยที่ การจัดการศึกษาภาคการศึกษาพิเศษ (ภาคฤดูร้อน) ขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำส่วนงานวิชาการเป็นกรณีๆ ไป

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

วัน-เวลา ราชการปกติ :        วันจันทร์ –ศุกร์ เวลา  09.00 – 16.00 น.
ภาคการศึกษาที่ 1       เดือนสิงหาคม – เดือนธันวาคม
ภาคการศึกษาที่ 2       เดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคม

การเรียนในระดับปริญญาเอกจะเป็นการเรียนเต็มเวลา โดยคณะฯ จัดพื้นที่ทำวิจัยให้นักศึกษาทุกคน หากอาจารย์ที่ปรึกษามีห้องวิจัย นักศึกษาจะทำงานที่ห้องวิจัยกับอาจารย์ที่ปรึกษา การเรียนในรายวิชาวิทยานิพนธ์ นักศึกษาจะรายงานโดยตรงกับอาจารย์ที่ปรึกษา
ส่วนการเรียนในรายวิชาเรียนอื่นๆ สำหรับแผน 2 จะมีการวัดผลคะแนนและตัดเกรดตั้งแต่ A(4.0) B+(3.5) B(3.0) C+(2.5) C(2.0) D+(1.5) D(1.0) และ F (0.0)

ระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร

นักศึกษาสามารถใช้ระยะเวลาศึกษาให้ครบหน่วยกิตตามหลักสูตรได้ไม่เกิน 6 ปีการศึกษา

การลงทะเบียนเรียน

นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต และไม่เกิน 15 หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ

การเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชา

เป็นไปตามข้อบังคับสถาบันว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 (ภาคผนวก ก)

กระบวนการประเมินผล

(1) การรายงานความก้าวหน้าในแต่ละภาคการศึกษาต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ประเมินผลโดยอาจารย์ที่ปรึกษา
(2) การสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) การประเมินผลกระทำในรูปของคณะกรรมการสอบจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ท่าน
(3) การสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ การประเมินผลกระทำในรูปของคณะกรรมการสอบจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ท่าน
และเป็นไปตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 (ภาคผนวก ก)
(4) นักศึกษาต้องผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย ซึ่งประเมินผลในรูปของคณะกรรมการสอบจำนวนไม่น้อยกว่า 5 ท่าน
โดยกรรมการอย่างน้อย 1 ท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกสถาบันฯ
และเป็นไปตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 (ภาคผนวก ก)

การสำเร็จการศึกษา

นักศึกษาต้องผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย ซึ่งประเมินผลในรูปของคณะกรรมการสอบจำนวนไม่น้อยกว่า 5 ท่าน
โดยกรรมการอย่างน้อย 1 ท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกสถาบันฯ
และเป็นไปตามข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559