ปริญญาตรี
ภาพรวมของหลักสูตร สาขา AIT (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2566)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชา เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AIT)
ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Artificial Intelligence Technology
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Artificial Intelligence Technology)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. (เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Artificial Intelligence Technology)
ปรัชญา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นบนแนวคิดปรัชญา มุ่งสร้างองค์ความรู้ ผลิต และ พัฒนา ทรัพยากรบุคคลของชาติ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบนฐานข้อมูลความรู้ เทคโนโลยี วิจัย และ นวัตกรรม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันเป็นรากฐานที่ดีของการพัฒนาประเทศ จุดเด่นของหลักสูตร คือ การออกแบบที่มุ่งเน้นการวางรากฐานคณิตศาสตร์ที่แข็งแรง การวางรากฐานองค์ความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์สมัยใหม่ ได้แก่ การเรียนรู้ของเครื่องและการเรียนรู้เชิงลึก และการสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อให้ผู้เรียน ได้ทำงานกับโจทย์จริงตั้งแต่ปีการศึกษาที่สาม
วัตถุประสงค์
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบโจทย์ด้านความต้องการบุคลากรด้านปัญญาประดิษฐ์ โดยมีเป้าหมายในการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างสร้างสรรค์ มีความสามารถในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่เทคโนโลยีมูลค่าสูง ซึ่งจะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ที่แข็งแรง
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ไปประยุกต์เพื่อสร้างผลงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถค้นคว้าวิจัย เรียนรู้สิ่งใหม่ เพื่อต่อยอดสร้างนวัตกรรมได้ด้วยตัวเอง
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร |
รูปแบบของหลักสูตร | ประเภทของหลักสูตร |
120 หน่วยกิต | หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี |
หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ |
ภาษาที่ใช้
หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
แผนการรับนักศึกษา
ปีละ 25 คน
- รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
- กรณีนักศึกษาต่างชาติรับเฉพาะที่ใช้ภาษาไทยได้เท่านั้น
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิทยาศาสตร์ด้านการเรียนรู้เชิงลึก
- นักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรข้อมูล
- ผู้พัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะ
- วิศวกรการเรียนรู้ของเครื่อง
- นักวิจัยและนักวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์
- วิศวกรวางสถาปัตยกรรมข้อมูลขนาดใหญ่
- นักพัฒนาระบบฝังตัวหรือระบบเชื่อมต่อสรรพสิ่ง
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการมองเห็นด้วยเครื่องจักร
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมวลผลภาษามนุษย์
- ผู้ประสานงานหรือผู้จัดการโครงการด้านปัญญาประดิษฐ์
- ผู้ประสานงานหรือผู้จัดการโครงการวิเคราะห์ข้อมูล
- ที่ปรึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์