หลักสูตรเทคโนโลยีฝังตัว MMET

divider

หลักการ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระบบฝังตัว โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมรถยนต์ และอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ มีความต้องการ ทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญทางด้าน การพัฒนาเทคโนโลยีระบบฝังตัวเพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้เป็นแรงขับเคลื่อนใน การพัฒนาเทคโนโลยีระบบฝังตัว ให้กับผลิตภัณฑ์ของตน ทั้งนี้ก็เพื่อ ตอบสนองความต้องการของตลาด ที่เพิ่มมากขึ้น

หลักสูตร MMET เป็นหลักสูตรที่จัดทำขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรม สำหรับพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีระบบฝังตัว ที่สอดคล้องตามกรอบมาตรฐาน ETSS (Embedded Technology Skill Standard) เพื่อตอบสนอง ต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และสามารถนำไปประยุกต์ในงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้พัฒนาการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นด้วย

หลักสูตรอบรม

ภาคทฤษฏี (3 วิชา รวม 108 ชม.)

วิชา Embedded System Basics

  • Introduction to Embedded Systems
  • Embedded Hardware Components
  • Embedded Software Components
  • Real-Time System Basics
  • Basic control theory
  • ES Development and Management Overview

วิชา Embedded System Interface

  • ADC/DAC
  • Sensors
  • Time-Based Measurements
  • Output Control Methods
  • Actuators
  • Electromagnetic Interfaces
  • High Precision Applications
  • Standard Interfaces
  • Analog Toolboxs

วิชา Embedded System Developments and Management

  • ES Development process
  • ES Project Management

ภาคปฏิบัติ (1 วิชา รวม 36 ชม.)

วิชา Embedded System Development Tools and Workshop

  • ES Development Tool
  • ES Programming Skill
  • ES Development and Management Project

วิทยากร

คณาจารย์ประจำของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  1. นักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้าย หรือระดับบัณฑิตศึกษา ที่กำลังศึกษาในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ หรือ
  2. บุคคลทั่วไปที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเทียบเท่า หรือบุคคลทั่วไปที่มีประสบการณ์ทำงาน ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 2 ปี

ระยะเวลาและสถานที่อบรม

จัดอบรมระหว่างวันที่ 19 มกราคม – 3 พฤษภาคม 2551 ในวันเสาร์ และ/หรือ อาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น. รวมทั้งสิ้น 144 ชั่วโมง ที่ศูนย์การศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 10 อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ถนนวิภาวดีรังสิต

ค่าลงทะเบียนอบรม

ค่าลงทะเบียนอบรม 22,900 บาท ต่อ 1 คน

(รวมค่าเอกสารภาคปฏิบัติ ดูงาน อาหารกลางวันและอาหารว่างและเครื่องดื่ม)

หลักฐานในการสมัคร

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาหนังสือรับรองการศึกษา หรือ หนังสือรับรองการผ่านงานด้านคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 2 ปี

วิธีการสมัครและชำระเงิน

  1. สมัครและชำระเงินด้วยตนเอง ณ ชั้น 6 สำนักงานคณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ในวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.30 -16.30 น.)
  2. หรือ ดาวน์โหลดใบสมัคร โดยกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มใบสมัคร และโอนเงินค่าลงทะเบียน เข้าบัญชี ออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเทคโนโลยีฯเจ้าคุณทหาร เลขที่บัญชี 088-2-246563 ชื่อบัญชี ” โครงการพิเศษคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล. ” และส่งใบสมัครพร้อมหลักฐานการโอนเงินได้ทางโทรสาร หรือ ทาง e-mail

การสมัครจะสมบูรณ์ก็ต้ก็ต่อเมื่อทางคณะได้รับชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว

หมายเหตุ: ผู้สมัครที่ชำระค่าลงทะเบียนแล้ว แต่ต้องการของยกเลิกการอบรม จะต้องแจ้งขอยกเลิกภายในวันที่ 25 ธันวาคม 2550 โดยคณะฯจะคินค่าลงทะเบียนให้ 70 % หากพ้นกำหนดวันดังกล่าว จะได้สามารถขอยกเลิกการอบรมได้

ติดต่อสอบถาม

คุณนุชรี โทร. 0 2723 4927 , 0 2723 4925 หรือ มือถือ: 08 9699 7880 แฟกซ์: 0 2723 4910 ในวันและเวลาราชการ

E-mail: nutcharee@it.kmitl.ac.th