ประวัติ

divider

ประวัติคณะ

โครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับความเห็นชอบจากสภา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2537 ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มโดยศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ อธิการบดี ในขณะนั้นได้มีวิสัยทัศน์ และเล็งเห็นถึงบทบาทความสำคัญ และแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อการพัฒนาประเทศ ประกอบกับความต้องการของตลาดแรงงานที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีศักยภาพในด้านนี้อยู่มาก

อนึ่งเพื่อให้ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และสภาพการแข่งขันของสถาบันอุดมศึกษาที่สูงขึ้น และต้องการความคล่องตัวในการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและพึ่งตนเองมากขึ้น คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงจัดตั้งขึ้น โดยไม่มีการแบ่งเป็นภาควิชาต่างๆ และได้รับสถาปนาเป็นส่วนราชการเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2539

คณะฯ ได้พัฒนาหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหลักสูตรแรก ซึ่งมีสองแขนงวิชา คือ การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Management) และ วิทยาการสารสนเทศ (Information Science) โดยเปิดสอนตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2538 เป็นต้นมา


ปี พ.ศ. 2545 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้พัฒนาหลักสูตรปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสาร สนเทศ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหลักสูตร เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความแข็งแรงทางด้านวิชาการ และคุณธรรม เพื่อตอบสนองสังคม รวมทั้งเป็นการปูพื้นฐานบันฑิตเพื่อต่อยอดเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท ซึ่งได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2546

ปี พ.ศ. 2547 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้พัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2547

ปี พ.ศ. 2551 ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต เป็น 2 แขนงวิชา คือ เทคโนโลยีระบบสารสนเเทศ (Infornation System Technologies – IST) และ เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ (Information Technology and Management -ITM)

ปี พ.ศ. 2552 ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งเป็น 2 แขนงวิชา ดังนี้

  1. แขนงวิชาเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ (Information System Technologies – IST)
  2. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ (Information Technology and Management – ITM)

ปี พ.ศ. 2554

  • ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  ให้เป็นไปตามตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)
  • ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  ให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)  แบ่งเป็น 4 แขนงวิชา ดังนี้
    1. แขนงวิชาวิทยาการสารสนเทศ   (Information Science – IS)
    2. แขนงวิชาเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ (Information System Technologies – IST)
    3. แขนงวิชาเทคโนโลยีเครือข่ายและระบบ (Network and Systems Technologies – NST)
    4. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ (Information Technology and Management – ITM)
  • ปรับปรุงหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)

ปรัชญา

การศึกษาและวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ

ปณิธาน

สร้างคน หมายถึง การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพพร้อมทำงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพดังกล่าว ได้แก่

  • การผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลและเป็นที่ยอมรับ
  • การผลิตบัณฑิตให้มีทักษะด้านปัญญา คือ มีความสามารถในการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประยุกต์ใช้
  • การผลิตบัณฑิตให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคม คือ มีความเป็นกัลยาณมิตร มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีความซื่อสัตย์และมีคุณธรรม

มุ่งวิจัย หมายถึงมุ่งมั่นค้นคว้าในศาสตร์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ

รับใช้สังคม หมายถึง มุ่งมั่นสร้างประโยชน์ให้สังคมด้วยการให้บริการทางวิชาการ โดยการถ่ายทอดความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในรูปแบบของการจัดอบรมวิชาการ การให้คำปรึกษา รวมถึงการช่วยวิเคราะห์ปัญหาและให้คำแนะนำไปสู่คำตอบ

วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรที่ใช้นวัตกรรมเพื่อความเป็นเลิศทางการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

(to be an organization with innovation for educational excellence in Information Technology)

คณะจะขับเคลื่อนองค์กรผ่านการสร้างสรรค์และประยุกต์ใช้นวัตกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับ สู่ความเลิศระดับภูมิภาคในการให้บริการการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

พันธกิจ

ด้านการผลิตบัณฑิต

  1. ผลิตบัณฑิตทุกระดับ ได้แก่ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
  2. ผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
  3. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของสังคม

ด้านการวิจัย

  1. สร้างงานวิจัยขั้นสูงระดับนานาชาติ
  2. สร้างงานวิจัยเชิงประยุกต์ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน

ด้านการบริการวิชาการและบริการสังคม

  1. ถ่ายทอดความรู้ในศาสตร์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ให้แก่สังคมอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
  2. ให้คำปรึกษา ช่วยวิเคราะห์และหาคำตอบประเด็นปัญหา

ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไทย

  1. ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไทย
  2. บูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา

วัตถุประสงค์

  1. ผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความ ต้องการของสังคม ทั้งด้าน วิชาการ คุณธรรม และมีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง
  2. ดำเนินการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับที่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สร้างสรรค์งานวิจัยที่ประยุกต์ใช้ได้จริง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจและสังคม
  3. เผยแพร่และบริการวิชาการแก่สังคม รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในหน่วย งานภาครัฐและภาคเอกชนโดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมมาตรฐานที่มีหลักสูตรและ การวัดความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
  4. รักษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและค่านิยมที่ดีของสังคมไทย

ค่านิยมคณะ: IT@WORKS หมายถึง บุคลากร นักศึกษา และบัณฑิตของคณะ มีความสามารถทำงานได้จริง และเป็นมืออาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

อัตลักษณ์คณะ: บัณฑิตพร้อมทำงาน (IT Prompt) หมายถึง บัณฑิตมีความรู้และทักษะพร้อมในการทำงานที่ตรงกับสายงานและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางตามหลักสูตรที่ศึกษา

เอกลักษณ์คณะ: นวัตกรรมล้ำสมัย หมายถึง  คณะเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และเป็นผู้นำในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม