หลักสูตร Internet of Things with Artificial Intelligence

divider

หลักการ

อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันผ่านโลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการ หรือควบคุมใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้และพัฒนาตนเองจากการวิเคราะห์ข้อมูลนำเข้า โดยจำลองให้มีความสามารถในการทำงานได้ฉลาดเทียบเท่ากับสมองของมนุษย์มากที่สุด ในปัจจุบันทั้งอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่งและปัญญาประดิษฐ์ถูกนำไปใช้ร่วมกันอย่างแพร่หลาย เพื่อรองรับความต้องการในธุรกิจด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรต้องศึกษาความรู้ความสามารถของอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่งและปัญญาประดิษฐ์เพื่อให้เข้าใจถึงการติดต่อสื่อสารและควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทันสมัยและให้ทันกับยุคอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ในปัจจุบัน

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่งและปัญญาประดิษฐ์มีการวางจำหน่ายและให้บริการอย่างต่อเนื่อง แต่ในความเป็นจริง ภาคอุตสาหกรรมยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเชิงลึกทางด้านนี้อยู่ ตลาดแรงงานเติบโตไม่ทันความต้องการของผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้บริโภค ดังนั้นการเรียนรู้ เข้าใจทักษะด้านนี้จึงเป็นการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับความต้องการแรงงานและความรู้ในภาคธุรกิจ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีต่อไป

หลักสูตร อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่งร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ นี้ได้ออกแบบมาเพื่อสร้างพื้นฐานความรู้ที่ดีเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่งและปัญญาประดิษฐ์ เมื่อจบหลักสูตร ผู้เข้ารับการอบรมจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในงานที่ทำอยู่ หรือเพื่อเป็นความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งความรู้ความสามารถเหล่านี้เป็นหนึ่งในทักษะที่มีความต้องการอย่างสูงของทั้งภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม

เนื้อหา ประกอบด้วย

เนื้อหาการอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฏีและปฏิบัติ รวม 45 ชั่วโมง ประกอบด้วย

หัวข้อที่ เนื้อหา
1 Introduction to microcontroller
2 Input/output port; Serial port and serial communication
3 Analog to digital convertor (ADC) and digital to analog convertor (DAC)
4 Ethernet communication , Fundamentals of Internet of Things (IoT)
5 Fundamentals of embedded systems ,Hardware and software components
6 Networking for IoT; IoT protocols , IoT and cloud communication
7 Combination of Artificial Intelligence (AI) and IoT , Getting started with Raspberry Pi (RPi)
8 Booting up RPi – Operating system and Linux commands , Home automation using RPi , Object detection on RPi

 

วิทยากร

คณาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • บุคคลทั่วไป
  • นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย
  • จบการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี

ระยะเวลาและสถานที่อบรม

ในทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น. เรียน 15 สัปดาห์  (รูปแบบ Online)
เริ่ม  14  มกราคม – 6  พฤษภาคม  2566
(เรียนร่วมกับนักศึกษาหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ วิชาโท หรือ ปริญญาโท)

การรับสมัคร

เปิดรับสมัครถึง 4  มกราคม  2566
**สมัครและชำระค่าลงทะเบียนก่อนจะมีสิทธิ์ก่อน

รับจำนวน 15  คน

อัตราค่าลงทะเบียน 13,500 บาท

โปรโมชั่นพิเศษ!!!

โปรโมชั่น รายละเอียด เงื่อนไข
EARLY BIRD ลดทุกคอร์สเหลือเพียง คอร์สละ 9,900 บาท ผู้สมัครต้องชำระค่าลงทะเบียน
ภายในวันที่ 18  ธันวาคม  2565

วิธีการสมัคร

  • สมัครผ่านระบบออนไลน์   คลิกที่นี่
  • หลังสมัคร โอนเงินค่าลงทะเบียน เข้าบัญชี ออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯลาดกระบัง เลขที่ บัญชี 693-0-31634-2 ชื่อบัญชี “ โครงการพิเศษคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล.”
  • ให้ส่งหลักฐานการโอนเงินค่าลงทะเบียน ทาง e-mail ถึง คุณ นุชรี

เงื่อนไขการชำระค่าลงทะเบียน

– ทางคณะขอตัดสิทธิ์ผู้สมัคร หากไม่ชำระค่าลงทะเบียนภายในวันและเวลาที่กำหนด (วันที่ 4 มกราคม 2566)
– กรณีที่ผู้สมัครชำระค่าลงทะเบียนแล้ว ทางคณะขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงินทุกกรณี

ส่งหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียน

**  การสมัครจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อทางคณะได้รับชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว **
*** สมัครและชำระค่าลงทะเบียนก่อนจะมีสิทธิ์ก่อนโดยเรียงตามลำดับ ***

หมายเหตุ
– ผู้เข้าอบรมจะต้องมีเวลาในการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาการอบรมทั้งหมด จึงจะได้รับใบรับรองผ่านการอบรม (Certificate of Course Attendance)

คุณนุชรี โทร. 0 2723 4927 หรือ มือถือ: 08 9699 7880
แฟกซ์: 0 2723 4910 ในวันและเวลาราชการ
E-mail:  nutcharee@it.kmitl.ac.th