รถไฟสายมรณะ

ทางรถไฟสายมรณะ

ทางรถไฟนี้ เดิมญี่ปุ่น มีเป้าหมายจะให้เสร็จสมบูรณ์ ในเดือนพฤสจิกายน แต่ปรากฏว่า ญี่ปุ่นสามารถสร้างได้เสร็จก่อนกำหนด 1 เดือน ในวันที่ 25 ตุลาคม  พ.ศ. 2486 จึงเป็นวันฉลองความสำเร็จ ของทหารพระจักรพรรดิ

ถ้ำเชลย

ถ้ำเชลยตั้งอยู่ ม.10 ต.ลุ่มสุ่ม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี อยู่ก่อนถึงถ้ำกระแซ ทางรถไฟสายมรณะ ด้านหน้ามีทางรถไฟตัดผ่านเป็นทางรถไฟที่มุ่งหน้ายังถ้ำกระแซ ซึ่งเป็นจุดที่สร้างทางรถไฟเลาะริมหน้าผาเป็นจุดที่ยากที่สุดมีเชลยศึกล้มตายดั่งใบไม้ล่วง

ช่องเขาขาด

ช่องเขาขาด หรือ ช่องไฟนรก เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (ทางรถไฟสายมรณะ) ตลอดเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า มีหลายจุดที่มีเนินหิน ภูเขา หน้าผา หรือหุบเหว ขวางอยู่จึงต้องขุดให้เป็นช่องเพื่อที่รถไฟสามารถวิ่งผ่านไปได้ ซึ่งที่ช่องเขาขาด หรือ ช่องไฟนรก เป็นจุดที่ใหญ่ที่สุดบนเส้นทางนี้

อนุสัญญาเจนีวา

อนุสัญญาเจนีวา (อังกฤษ: Geneva Conventions) คือสนธิสัญญาสี่ฉบับ และพิธีสารสามฉบับที่วางมาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้เป็นเหยื่อของสงครามอย่างมีมนุษยธรรม

previous arrow
next arrow
previous arrownext arrow
Slider

ทำไมสะพานข้ามแม่น้ำแคว จึงเป็นชื่อที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลก มันมิใช่เพราะความอลังการ หรืองดงามตระการตาใด ๆ หากแต่ คำตอบแท้จริง มันคือความโหดร้ายทารุณ ที่เกิดขึ้นในอดีต อันขมขื่น ณ ที่แห่งนั้น ความเศร้าสลดสยดสยอง ที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นประวัติศาสตร์ ยากที่จะหาใดเสมอเหมือนได้นั้น แท้จริง มันอยู่บนเส้นทางรถไฟ ที่ทอดผ่านสะพานข้ามแม่น้ำแควแห่งนี้ ซึ่งมีระยะทางยาวไม่กี่ร้อยกิโลเมตร ที่ใช้เวลาสร้างอันรวดเร็ว และสำคัญที่สุด ก็คือ ต้องสูญเสียชีวิตคนไปถึงหนึ่งแสนคน เจ็บป่วย และพิการ อีกหลายหมื่นคน เพราะความโหดร้ายทารุณ จนทางรถไฟสายนี้ ถูกเรียกว่า “ทางรถไฟสายมรณะ”

The Railway Man ภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงจากทางรถไฟสายมรณะในประเทศไทย ที่ถูกเล่าผ่านมุมมองนายทหารอังกฤษ นำแสดงโดยสองนักแสดงเจ้าของรางวัลออสการ์ โคลิน เฟิร์ธ (The King’s Speech) และ นิโคล คิดแมน (The Hours) รวมไปถึง เจเรมี เออร์วีน หนุ่มน้อยจาก Now is Good

อ่านต่อ…

บุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์

No announcements found