วิกฤตต้มยำกุ้ง


--------------------------------------------------------------

วิกฤตการณ์การเงินในเอเชียช่วง พ.ศ.2540 / ค.ศ.1997 หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า “วิกฤตต้มยำกุ้ง”เป็นช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชียเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงิน
วิกฤตดังกล่าวเริ่มขึ้นในประเทศไทย เมื่อค่าเงินบาทลดลงอย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทย ซึ่งมี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ลอยตัวค่าเงินบาท ตัดการอิงเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หลังจากความพยายามทั้งหมดที่จะสนับสนุนค่าเงินบาทเมื่อเผชิญกับการแผ่ขยายแบบเกินเลยทางการเงิน (Financial Overextension) อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนขับเคลื่อนอสังหาริมทรัพย์ ในเวลานั้น ประเทศไทยมีภาระหนี้สาธารณะซึ่งทำให้ประเทศอยู่ในสภาพล้มละลายก่อนหน้าการล่มสลายของค่าเงิน และเมื่อวิกฤตดังกล่าวขยายออกนอกประเทศ ค่าเงินของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่นก็ได้ทรุดตัวลงเช่นกัน ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงและรวมไปถึงราคาสินทรัพย์อื่นๆ และทำให้หนี้เอกชนเพิ่มสูงขึ้น

จากกราฟเราจะเห็นได้ชัดเลยว่าค่าเงินบาทไทย ต่ำมาตลอดตั้งแต่ช่วงต้นปี จนกระทั่งเดือนมิถุนายนค่าเงินกระโดดสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงสิ้นปี

จากที่ค่าเงินมีการไต่ระดับขึ้นสูงมากจากปีที่แล้ว พอต้นปี ก็ดิ่งลงเหวอย่างน่าตกใจ แม้มีช่วงเดือนเมษายน ถึง สิงหาคม ที่ฟื้นขึ้นมาเล็กน้อย แต่หลังจากนั้น ค่าเงินก็เริ่มลดลง

ผลกระทบจากวิกฤตต้มยำกุ้ง


ประเทศไทยได้รับผลกระทบขนาดไหน ?