วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์หรือวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์เป็นวิกฤตการเงินของสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก
เริ่มจากการที่ภาวะฟองสบู่แตกในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาและการผิดชำระหนี้ของสินเชื่อซับไพรม์และสินเชื่อดอกเบี้ยลอยตัวเริ่มตั้งแต่ปี 2005-2006
และปัญหาเริ่มปรากฏชัดขึ้นในช่วงปี 2007
แล้วก็เจอปัญหาอย่างหนักในช่วงปี 2008
วิกฤตนี้นับเป็นวิกฤตการเงินที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1
จากกราฟเราจะเห็นได้ชัดเลยว่าค่าเงินบาทไทยเริ่มที่จะแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 2007 แล้วก็กลับมาอ่อนค่าลงในช่วงสิงหาคม 2007 แล้วก็กลับมาแข็งค่าไปเรื่อยๆตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายน 2007
แล้วเงินบาทก็กลับมาอ่อนตัวอีกครั้งตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมปี 2008
พอเข้าสู่ช่วงเดือนมีนาคมปี 2009 จนถึงช่วงปลายปี 2009
จากกราฟจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าเงินบาทไทยนั้น
แข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งหลังจากนั้นค่าเงินบาทไทยก็ค่อยๆแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆแล้วก็แข็งค่าอ่อนค่าสลับกันไปมา
ผลกระทบจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
อย่างไรก็ตามวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์นั้นส่งผลต่อภาคการเงินของสหรัฐอเมริกากับยุโรปเป็นอย่างหนักทั้งสหรัฐอเมริกากับยุโรปเจอ
ผลกระทบจากวิกฤตนี้คือบริษัทใหญ่ๆหลายบริษัทเกิดการขาดทุนอย่างหนักและอัตราการว่างงานก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนและรวมถึง GDP ที่ลดลงด้วยแต่
สำหรับภาพรวมของฝั่งเอเชียนั้นไม่ได้รับผลกระทบหนักเท่ากับสหรัฐอเมริกาและยุโรปถึงแม้ว่าในช่วงแรกๆหลายประเทศจะเจอปัญหาสภาพคล่องอัตราแลกเปลี่ยนกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
จนทำให้เศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรงช่วงไตรมาส 3 ปี 2007 แต่ก็เริ่มกลับมามีทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ปี 2008 ได้อีกครั้ง
ประเทศไทยได้รับผลกระทบขนาดไหน ?
ผลกระทบที่ประเทศไทยได้รับส่วนใหญ่เป็นผลกระทบทางอ้อมแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์นั้นก็ทำให้การส่งออกของไทยไปยังสหรัฐอเมริกานั้นมีการชะลอตัวลงเพราะสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดผู้บริโภคอันดับ 1 ของโลกและยังส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกอีกด้วย