การประมวลผลชุดคําสั่ง SQL โดยอ๊อพติไมเซอร์ของระบบจัดการฐานข้อมูล

สำเริง จันทร์ลมูล

Abstract


โดยทั่วไปนักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์และผู้บริหารระบบฐานข้อมูลควรมีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการประมวลผลชุดคำสั่ง SQL (Structured Query Language) บ้างพอสมควรแล้วจึงเขียนชุดคำสั่งให้สอดคล้องกับการประมวลผลของชุดคำสั่งแต่ละประเภท ซึ่งจะทำให้ระบบจัดการฐานข้อมูลไม่ต้องเสียทรัพยากรและเวลามากเกินความจำเป็น บทความนี้ให้ความรู้และความเข้าใจขั้นตอนการประมวลผลชุดคำสั่งโดยอ๊อพติไมเซอร์ของระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และจะแสดงตัวอย่างชุดคำสั่งหลายชุดที่ให้ผลลัพธ์เหมือนกันแต่มีการประมวลผลต่างกันซึ่งจะให้ประสิทธิภาพต่างกันด้วย การเลือกชุดคำสั่งที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น การรวบรวมและวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงประสิทธิภาพ (Performance Statistics) ให้ระบบจัดการฐานข้อมูลนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งคำแนะนำสำหรับนักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์และผู้ดูแลระบบฐานข้อมูลให้เขียนชุดคำสั่งให้สอดคล้องกับการทำงานหรือสิ่งที่อ๊อพติไมเซอร์ต้องทำเพื่อลดขั้นตอนการทำงานของอ๊อพติไมเซอร์ และช่วยให้อ๊อพติไมเซอร์ทำงานตามต้องการในกรณีที่มันอาจทำงานได้ไม่ดีหรือในสถานการณ์จำเพาะหรือพิเศษซึ่งไม่สามารถใช้วิธีการทั่วไปให้มีประสิทธิภาพได้

Full Text:

PDF

References


Jean-Franzois verier, Oracle Database 11g: SQL Tuning Workshop, 1st ed. California: Oracle Corporation, 2008.

Oracle Database 11g: Performance Tuning, 1st ed. California: Oracle Corporation, 2008.

Oracle8i Designing and Tuning for Performance, Oracle Corporation, 1999.

DB2 for Linux, UNIX, and Windows Performance Tuning and Monitoring Workshop, 1st ed. New York: IBM, 2006.

C. J. Date, An Introduction to Database Systems, 8th ed. Boston: Pearson Education, 2004.

Carlos Coronel, Steven Morris, Peter Rob, Database Systems: Design, Implementation, and Management, 10th ed. Boston: Cengage Learning, 2012.

Ramez Elmasri, Shamkant B. Navathe, Fundamentals of Database Systems, 6th ed. Boston: Addison-Wesley, 2011.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.