ภาพรวมของหลักสูตร DSBA พ.ศ. 2565
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชา วิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ
ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ |
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ | Bachelor of Science Program in Data Science and Business Analytics |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) | วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ) |
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) | Bachelor of Science (Data Science and Business Analytics) |
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) | วท.บ. (วิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ) |
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) | B.Sc. (Data Science and Business Analytics) |
ปรัชญาของหลักสูตร
ข้อมูลและสารสนเทศมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานขององค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยในการปรับปรุงกระบวนการทำงานในส่วนงานต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยทำให้การวางแผน ควบคุมและตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล สามารถนำพาองค์กรและหน่วยงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ช่วยกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในภาพรวมให้ดีขึ้น การได้มาซึ่งข้อมูลและสารสนเทศดังกล่าว ต้องอาศัยศาสตร์ด้านวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจเข้ามาช่วย เพื่อทำให้สามารถรวมรวบข้อมูลจากฐานข้อมูล (Database) และคลังข้อมูล (Data warehouse) จากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งมีความซับซ้อนและมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาลในระดับข้อมูลมหัต (Big data) เพื่อนำมาจัดเตรียมและประมวลผลด้วยเครื่องมือซึ่งใช้กลไกของอัลกอริทึม (Algorithm) ขั้นสูง เพื่อทำให้ได้สารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์และพยากรณ์ได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ส่งผลทำให้การดำเนินการ รวมทั้งการตัดสินใจและแก้ปัญหา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องจัดเตรียมบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงาน รวมทั้งรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงได้จัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจขึ้น เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ มีทักษะความชำนาญทั้งในระดับพื้นฐานและในระดับสูง รวมทั้งมีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมจริยธรรม และมีความพร้อมในการทำงาน เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนดังกล่าวได้ในอนาคต
จำนวนหน่วยกิต รูปแบบและประเภทของหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตที่เรียน ตลอดหลักสูตร | รูปแบบของหลักสูตร | ประเภทของหลักสูตร |
132 หน่วยกิต | หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี |
|
ภาษาที่ใช้
หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
แผนการรับนักศึกษา
ปีละ 50 คน
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) นักวิทยาการข้อมูล (Data Scientist)
2) นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst)
2.1) ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยะทางธุรกิจ (BI Specialist)
2.2) นักวิเคราะห์ด้านอัจฉริยะทางธุรกิจ (BI Analyst)
2.3) นักพัฒนาด้านอัจฉริยะทางธุรกิจ (BI Developer)
2.4) นักพัฒนาข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ (Business Insight Data Developer)
3) วิศวกรข้อมูล (Data Engineer)
3.1) นักพัฒนาคลังข้อมูล (Data Warehouse Developer)
4) วิศวกรการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning Engineer)
5) นักพัฒนาแบบจำลองข้อมูล (Data Modeler)