ข่าวศิลปวัฒนธรรม

divider

พระคุณของพ่อเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ

“พระคุณของพ่อ” เนื่องในมหามงคลสมัยคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ที่จะมาถึงข้างหน้านี้ ปวงชนชาวไทยต่างพากันรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ผู้ได้ทรงอนาทรห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ ทรงปรารถนาอยู่เนืองนิตย์ที่จะให้พสกนิกรของพระองค์ ผู้มีความทุกข์เดือดร้อนให้พ้นทุกข์  และให้ทุกคนมีความเจริญและสันติสุข จึงได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งปวง และได้ทรงดำเนินโครงการอื่นๆ อีกมาก เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พสกนิกรของพระองค์อย่างทั่วถึง ด้วยพระเมตตาและขันติธรรม ด้วยความเสียสละอย่างสูง โดยมิได้ทรงย่อท้อต่อความเหนื่อยยากของพระองค์เอง ขอแต่ให้พสกนิกรของพระองค์พ้นทุกข์ ได้ถึงความเจริญและสันติสุข ก็ทรงพอพระราชหฤทัยแล้ว ความอนาทรห่วงใยต่อพสกนิกรของพระองค์นั้นเปรียบดังบิดาอนาทรต่อบุตร  ประชาชนทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามพระองค์ว่า “พ่อแห่งชาติ”   ในวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ ที่จะมาถึงข้างหน้านี้ พระคุณของพ่อ ซึ่งครอบคลุมถึงพระคุณของแม่ด้วย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ “พ่อแห่งชาติ” และเพื่อเทิดทูนบูชาพระคุณของพ่อทั้งหลายที่มีต่อลูกๆ เพื่อที่ลูกๆ จักได้สำเหนียกในพระคุณของท่าน ได้ระลึกถึงพระคุณ คิดและกระทำตอบแทนพระคุณของท่านตามกำลังสติปัญญาและกำลังทรัพย์ ในโอกาสอันสมควรสืบต่อไป  โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับพระคุณของพ่อตามเอกสารแนบ
 
 

วันนี้เราเตรียมดอกมะลิให้แม่แล้วหรือยัง?

        เนื่องในมหามงคลสมัยคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคมที่จะมาถึงข้างหน้านี้ ปวงชนชาวไทยต่างพากันรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ผู้ได้ทรงอนาทรห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ ทรงปรารถนาอยู่เนืองนิตย์ที่จะให้พสกนิกรของพระองค์ ผู้มีความทุกข์เดือดร้อนให้พ้นทุกข์  และให้ทุกคนมีความเจริญและสันติสุข จึงได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งปวง เคียงคู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้แก่ การส่งเสริมศิลปะอาชีพ ให้ราษฎรผู้ด้อยโอกาสได้มีวิชาอาชีพไปใช้ประกอบสัมมาอาชีวะ เพิ่มพูนรายได้ของตน ให้พอกินพอใช้ และได้ทรงดำเนินโครงการอื่นๆ อีกมาก เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พสกนิกรของพระองค์อย่างทั่วถึง ด้วยพระเมตตาและขันติธรรม ด้วยความเสียสละอย่างสูง โดยมิได้ทรงย่อท้อต่อความเหนื่อยยากของพระองค์เอง ขอแต่ให้พสกนิกรของพระองค์พ้นทุกข์ ได้ถึงความเจริญและสันติสุข ก็ทรงพอพระราชหฤทัยแล้ว ความอนาทรห่วงใยต่อพสกนิกรของพระองค์นั้นเปรียบดังมารดาอนาทรต่อบุตร  ประชาชนทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามพระองค์ว่า “พระแม่ของชาติ”   ในวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิ ริกิตติ์ฯ  พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ ที่จะมาถึงข้างหน้านี้ พระคุณของแม่ ซึ่งครอบคลุมถึงพระคุณของพ่อด้วย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ “พระแม่ของชาติ” และเพื่อเทิดทูนบูชาพระคุณของแม่ทั้งหลายที่มีต่อลูกๆ เพื่อที่ลูกๆ จักได้สำเหนียกในพระคุณของท่าน ได้ระลึกถึงพระคุณ คิดและกระทำตอบแทนพระคุณของท่านตามกำลังสติปัญญาและกำลังทรัพย์ ในโอกาสอันสมควรสืบต่อไป โดยมีรายละเอียดพระคุณแม่ และพุทธพจน์และข้อคิดต่างๆ ตามเอกสารแนบ  
 

ประกาศ เรื่องพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2555

ประกาศคณะ เรื่องพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2555

โดยมีรายละเอียดตามเอกสารแนบดังนี้
 

ขอเชิญร่วมฟังปาฐกถาธรรม ในวันพุธที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕

ขอเชิญร่วมฟังปาฐกถาธรรมพิเศษ ในหัวธรรมที่ว่า
 “จุดมุ่งหมายแห่งความสำเร็จ”
โดยวิทยากรทีมงาน พระมหาสมปอง  ตาลปุตฺโต
 ในวันพุธที่ ๑๔  มีนาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๓๐๐ น. ถึง เวลา ๑๖.๓๐ น.
 ณ ห้องประชุมใหญ่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ขอเรียนเชิญนักศึกษาและบุคลากรของคณะและของสถาบันทุกท่านเข้าร่วมฟังโดยพร้อมเพียงกัน
 

วันขึ้นปีใหม่

ส่งความสุขในวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๕

ส่งความสุข  ปีใหม่    อวยชัยท่าน

จงสำราญ  สำเร็จ   เผด็จผล

อีกอายุ     วรรณะ  สุขะดล

พละล้น    พ้นทุกข์  มีสุขเอย

 

        ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว ๔ ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ ๒ กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน

การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน ๒ ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยะคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๒ เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ ๑  เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๗ ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

         การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

        ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๔ เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป

เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ ๑ เมษายนมาเป็นวันที่ ๑ มกราคมก็คือ
. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
. การไหว้พระทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้นกิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่

       วันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี จะมีการไหว้พระทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขวัญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย


งานกิจการนักศึกษา

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล.