3 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง และ 1 รางวัลระดับดี จากงาน Thailand Research Expo 2019

ทีมนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คว้ารางวัลจากการเข้าร่วมการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษาและการประกวดข้อเสนอโครงการผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา  ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562 (Thailand Research Expo 2019)  ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ถือเป็นเวทีระดับชาติในการนำเสนอผลงานวิจัย เทคโนโลยี  และนวัตกรรมที่มีคุณภาพเพื่อเชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ โดยในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 14 ในระหว่างวันที่ 7-10 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์

กิจกรรมประกวด “ผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2562” เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นภายใต้งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562 (Thailand Research Expo 2019)  ซึ่งเป็นการจัดแสดงผลงานของนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาจำนวนกว่า 135 ผลงาน จากสถาบันอุดมศึกษา 40 สถาบันทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษาในทุกระดับจากสถาบันอุดมศึกษา ที่ได้บ่มเพาะความรู้และแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรม ได้นำเสนอผลงานนวัตกรรมและประกวดแข่งขัน สำหรับการประกวดแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มสิ่งประดิษฐ์ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร กลุ่มสิ่งประดิษฐ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กลุ่มสิ่งประดิษฐ์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ศิลปะและการออกแบบ และกลุ่มสิ่งประดิษฐ์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

และในการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ ทีมนักษาศึกษาคณะไอทีลาดกระบังได้ตบเท้ากันคว้ารางวัลมามากมายด้วยกัน กับการคว้า 3 รางวัลเหรียญเงิน และ 1 รางวัลเหรีญทองแดง นอกจากนี้ยังพ่วงด้วย 1 รางวัลกับการประกวดข้อเสนอโครงการผลงานนวัตกรรมฯ ระดับดี

และในการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ ทีมนักษาศึกษาคณะไอทีลาดกระบังได้ตบเท้ากันคว้ารางวัลโดยได้รับ 3 รางวัลเหรียญเงิน และ 1 รางวัลเหรีญทองแดง นอกจากนี้ยังพ่วงด้วย 1 รางวัลกับการประกวดข้อเสนอโครงการผลงานนวัตกรรมฯ ระดับดี สำหรับ 4 ผลงานของทีมนักศึกษาไอทีลาดกระบัง ชั้นปีที่ 4 ประกอบด้วย ผลงาน “ระบบทางการแพทย์ชาญฉลาดสำหรับทำนายโรคเบาหวาน” โดย นางสาวชนัดดาภรณ์ อ่อนแสง และ นางสาวธนมณฑ์ ตันศิริเสริญกุล ได้รับรางวัลเหรียญเงินจากกลุ่มสิ่งประดิษฐ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยผลงานชิ้นนี้เป็นระบบเว็บแอปพลิเคชันทำนายโรคเบาหวาน สำหรับแพทย์ พยาบาล และนักวิทยาการข้อมูล หรือเรียกว่า “BAOJAI ไร้เบาหวาน” เพื่อประกอบการตัดสินใจรักษาผู้ป่วย โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร (Machine Learning) ซึ่งได้นำเทคนิค Multiple Kernels on Multiple Layers มาเรียนรู้ข้อมูลผู้เข้ารับการตรวจโรคและสร้างโมเดลการทำนายโรคเบาหวานจากข้อมูลผลตรวจต่าง ๆ

ผลงาน “คริปเมด – ข้อมูลสุขภาพเข้ารหัสบนบล็อกเชนส่วนบุคคลเพื่องานวิจัยแบบย้อนหลัง” โดย นายชญานนท์ ทองพิลา และ นางสาวดนยา สร้างสุข ได้รับรางวัลเหรียญเงินจากกลุ่มสิ่งประดิษฐ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งเป็นผลงานที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาประยุกต์ใช้เพื่อจัดการสิทธิการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ (Health Record) เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ได้มีความเป็นเจ้าของข้อมูลอย่างแท้จริง และเทคโนโลยีบล็อกเชนยังมีความปลอดภัยสูง มีความถูกต้องสมบูรณ์ โดยผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์จะสามารถให้สิทธิการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตน แก่แพทย์ได้ในหลากหลายระดับ  นอกจากนั้นยังมีส่วนสนับสนุนงานวิจัยทางด้านการแพทย์ ซึ่งช่วยลดขั้นตอนในการขอข้อมูลเพื่อใช้งานวิจัย

ผลงาน “แอปพลิเคชันมือถือแบบไม่รวมศูนย์สำหรับตรวจสอบความเป็นเจ้าของสลากกินแบ่งรัฐบาล”โดย นางสาวจิรภิญญา งามแสงจันทร์ฉาย และ นายณพงศ์ ตันสกุล ได้รับรางวัลเหรียญเงินจากกลุ่มสิ่งประดิษฐ์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ศิลปะและการออกแบบ เป็นผลงานแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ในการบันทึกข้อมูลประวัติการถือครอง และธุรกรรมของสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยมีฟังก์ชันหลักในการยืนยันตัวตนความเป็นเจ้าของสลากได้ผ่านทางแอปพลิเคชัน จากการสแกนส่วนที่อ้างอิงข้อมูลกับฐานข้อมูลสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วย 1D Barcode บนสลาก โดยแอปพลิเคชัน Lottolotto จะเป็นทางเลือกหนึ่งในการพิสูจน์การยืนยันความเป็นเจ้าของสลากกินแบ่งรัฐบาล นอกเหนือจากการถือครองใบสลากกินแบ่งรัฐบาลที่จับต้องได้เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ผลงานชิ้นนี้ยังได้รับรางวัลระดับดี จากการประกวดข้อเสนอโครงการผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2562 อีกด้วย

ผลงาน “สภาพแวดล้อมสำหรับการคำนวณแบบปฏิสัมพันธ์สำหรับการเขียนโปรแกรมแบบจับคู่ทางไกล เพื่อส่งเสริมการศึกษาวิทยาการข้อมูลและวิทยาการคอมพิวเตอร์” โดย นายทิวิภาพ มีพฤกษ์ และนายวีราพัชร์ มีลาภ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงจากกลุ่มสิ่งประดิษฐ์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ศิลปะและการออกแบบ โดยผลงานชิ้นนี้เป็นเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการเขียนโปรแกรมแบบจับคู่ทางไกลโดยไม่จำเป็นต้องทำงาน ณ สถานที่หรือใช้คอนโซลเดียวกัน โดยมีสภาพแวดล้อม​ที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมสำหรับการศึกษาด้านวิทยาการ​ข้อมูล​และวิทยาการคอมพิวเตอร์​ และการแนะนำคู่เขียนโปรแกรมที่เหมาะสมกับจุดประสงค์ พร้อมทั้งระบบจัดการห้องเรียนและแผงควบคุม​ความก้าวหน้า​การเขียนโปรแกรมของนักศึกษา เพื่อส่งเสริมในการคิดและแก้ไขปัญหา У девушки на сайте красоток был средний рейтинг, но она выбилась в лидеры, опубликовав жаркое видео

สำหรับทีมนักศึกษาทั้ง 4 ทีม ได้มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีรพงศ์ ลีลานุภาพ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของนักศึกษาทั้ง 4 ทีม ด้วยการคว้า 4 รางวัลจากการเข้าร่วมการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2562 ภายใต้งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562 (Thailand Research Expo 2019) ในครั้งนี้