หลักสูตร Element of Artificial Intelligence

divider

หลักการ

Artificial Intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลในโซเซียลมีเดียของแต่ละบุคคลถูกเก็บและใช้ในการแนะนำสินค้า เทคโนโลยีรถไร้คนขับที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการขนส่งในอนาคตไม่ไกลนัก อาจกล่าวได้ว่า ปัญญาประดิษฐ์เริ่มถูกใช้งานอย่างจริงจังในแทบทุกด้าน เช่น ในด้านการค้าขาย ได้แก่ การทำนายพฤติกรรมลูกค้าเพื่อสร้างโปรโมชั่น ด้านการเงิน ได้แก่ การตัดสินใจให้สินเชื่อแก่ผู้ขอกู้รายย่อย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการช่วยคัดกรองและวินิจฉัยโรค ด้านการรักษาความปลอดภัย ได้แก่ การรู้จำลายมือ ใบหน้า และไบโอแมทริกซ์ในการระบุตัวตน รวมไปถึงด้านการบริการและการบันเทิง ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์สนทนาโต้ตอบกับลูกค้าอย่างเป็นธรรมชาติ การสร้างภาพกราฟฟิกเสมือนจริงในภาพยนตร์ การสร้างตัวตนอวาตาร ในเกมแบบวีอาร์ที่ให้ประสบการณ์เสมือนจริง

ปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบันได้เข้าสู่ยุคของการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักรและการเรียนรู้เชิงลึก ซึ่งเป็นศาสตร์ที่อิงกับการคำนวณ ตรงข้ามกับปัญญาประดิษฐ์ยุคดั้งเดิมที่อิงกับการใช้เหตุผลแบบมนุษย์ สำหรับบุคคลทั่วไป ปัญญาประดิษฐ์จึงเป็นความลึกลับและงุนงง อย่างไรก็ตาม บุคคลทั่วไปควรและอาจจะจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของปัญญาประดิษฐ์ ในระดับที่สามารถวินิจฉัยได้ว่า งานประเภทใดที่ปัญญาประดิษฐ์สามารถทำได้ดี ภายใต้เงื่อนไขใด และคำกล่าวอ้างต่างๆ เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์มีความน่าเชื่อถือเพียงใด ไปจนถึงสามารถวินิจฉัยว่า จะนำปัญญาประดิษฐ์ไปปรับใช้ในกระบวนการทำงานปัจจุบันกระบวนการใดได้บ้าง  ทั้งนี้ เพื่อต่อยอดพัฒนาทักษะของผู้เข้ารับการอบรมในอนาคต

เนื้อหา ประกอบด้วย

เนื้อหาการอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฏีและปฏิบัติ รวม 45 ชั่วโมง ประกอบด้วย

หัวข้อที่ เนื้อหา ชั่วโมง Learning Outcome
1 AI definition and related fields
Philosophy of AI
Problem representation
Problem and Solution space
8 ผู้เข้าอบรมมีพื้นฐานความรู้และความเข้าใจองค์ประกอบและวิธีการต่างๆ ในงานด้านปัญญาประดิษฐ์
2 Solving problems with AI Search algorithms
Search and Games
8 ผู้เข้าอบรมมีพื้นฐานความรู้และความเข้าใจองค์ประกอบและวิธีการต่างๆ ในงานด้านปัญญาประดิษฐ์
3 Probability
Bayes rule
Naïve Bayes classification
8 ผู้เข้าอบรมเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเครื่องจักรเบื้องต้น เพื่อใช้ในงานด้านปัญญาประดิษฐ์
4 Machine Learning
Nearest neighbor classifier
Regression
8 ผู้เข้าอบรมเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเครื่องจักรเบื้องต้น เพื่อใช้ในงานด้านปัญญาประดิษฐ์
5 Neural Network
Gradient descent algorithm
Advanced neural network techniques (CNN)
8 ผู้เข้าอบรมเข้าใจกระบวนการทำงานของโครงข่ายประสาทเทียม เพื่อใช้ในงานด้านปัญญาประดิษฐ์
6 Predicting the future
The society and environmental impacts of AI
8 ผู้เข้าอบรมเข้าใจผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ที่มีต่อสังคมและวิถีชีวิต
       

วิทยากร

คณาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • บุคคลทั่วไป
  • ศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล.

ระยะเวลาและสถานที่อบรม

ในทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น. เรียน 15 สัปดาห์  ระหว่าง  8  กรกฎาคม – 28  ตุลาคม  2566
(เรียนร่วมกับนักศึกษาหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ วิชาโท หรือ ปริญญาโท)
ณ  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

การรับสมัคร

เปิดรับสมัครถึง   30  มิถุนายน  2566
**สมัครและชำระค่าลงทะเบียนก่อนจะมีสิทธิ์ก่อน

รับจำนวน  15  คน

อัตราค่าลงทะเบียน  13,500  บาท

โปรโมชั่นพิเศษ!!!

โปรโมชั่น รายละเอียด เงื่อนไข

EARLY BIRD

 

ศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล.

อร์สละ 9,900 บาท

 

พิเศษ คอร์สละ  9,900  บาท  จาก 13,500 บาท

ผู้สมัครต้องชำระค่าลงทะเบียน
ภายในวันที่ 15 มิถุนายน  2566

 

ตั้งแต่บัดนี้  ถึง  30 มิถุนายน 2566

 

วิธีการสมัคร

  • สมัครผ่านระบบออนไลน์  คลิกที่นี่
  • หลังสมัคร โอนเงินค่าลงทะเบียน เข้าบัญชี ออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯลาดกระบัง เลขที่ บัญชี 693-0-31634-2 ชื่อบัญชี “ โครงการพิเศษคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล.”
  • ให้ส่งหลักฐานการโอนเงินค่าลงทะเบียน ทาง e-mail ถึง คุณ นุชรี

ส่งหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียน

**  การสมัครจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อทางคณะได้รับชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว **
*** สมัครและชำระค่าลงทะเบียนก่อนจะมีสิทธิ์ก่อนโดยเรียงตามลำดับ ***

หมายเหตุ
 ผู้เข้าอบรมจะต้องมีเวลาในการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาการอบรมทั้งหมด จึงจะได้รับใบรับรองผ่านการอบรม (Certificate of Course Attendance)

คุณนุชรี โทร. 0 2723 4927 หรือ มือถือ: 08 9699 7880   ในวันและเวลาราชการ
E-mail:  nutcharee@it.kmitl.ac.th