หลักสูตรระบบเครือข่าย MMNT

divider

หลักการ

ในภาวะปัจจุบันที่เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีการใช้งานระบบสารสนเทศอย่างแพร่หลาย ทำให้ประเทศไทยประสบกับปัญหาการขาดแคลนสะสมของบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ยิ่งไปกว่านั้น บุคลากรส่วนหนึ่งที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบเครือข่ายซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบสารสนเทศก็มิใช่บุคคลที่ศึกษาจบมาทางด้านนี้ จึงทำให้ขาดความรู้พื้นฐานในการพัฒนาตนเองให้เข้าใจวิทยาการด้านนี้อย่างลึกซึ้งที่จะนำวิทยาการอันทันสมัยไปประยุกต์ใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ อีกทั้งขาดประสบการณ์และการฝึกฝนให้เกิดทักษะเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงานด้านระบบเครือข่าย เนื่องจากไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะมีห้องปฏิบัติการระบบเครือข่ายที่มีอุปกรณ์เพรียกพร้อม และทันสมัยพอที่จะทำการทดลองปฏิบัติการใดๆเกี่ยวกับระบบเครือข่ายในตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูง

ในฐานะที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมด้านสถานที่ มีห้องปฏิบัติการระบบเครือข่ายที่เพรียกพร้อมทันสมัย อีกทั้งคณะฯ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และข่าวสารต่างๆกับเครือข่ายสถาบันการศึกษาในประเทศและต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา ภายใต้ความร่วมมือในโครงการเครือข่ายสถาบันการศึกษาของซิสโก้ (Cisco Networking Academy Program) ซึ่งนอกจากนี้คณะฯได้เล็งเห็น และตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรที่จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากคณะฯ จึงได้จัดการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติการระบบเครือข่ายขึ้น เพื่อให้นักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษาจากคณะฯได้มีความรู้ มีความสามารถและมีทักษะเชิงปฏิบัติในการทำงานเกี่ยวกับระบบเครือข่าย อันจะเป็นการเสริมศักยภาพเพื่อให้เป็นบุคลากรทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพสอดคล้องกับการก้าวไปของเทคโนโลยีในยุคสมัย ซึ่งความรู้และทักษะดังกล่าวสามารถนำไปพัฒนาความรู้ในการทำงานระดับที่สูงขึ้นต่อไปหรือนำไปใช้ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

หลักสูตรอบรม

หลักสูตรอบรม ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ

  1. Networking Fundamental
    1. Living in a Network-Centric World
    2. Communications over the Networks
    3. OSI Application Layer Functionality
    4. OSI Transport Layer
    5. OSI Network Layer
    6. Addressing the Network – IPv4
    7. Data Link Layer
    8. OSI Physical Layer
    9. Ethernet
    10. Planning and Cabling Networks
    11. Configuring and Testing Your Network
  2. Routing Protocols and Concepts
    1. Introduction to Routing and Packet Forwarding
    2. Static Routing
    3. Introduction to Dynamic Routing Protocols
    4. Distance Vector Routing Protocols
    5. RIP version 1
    6. VLSM and CIDR
    7. RIPv2
    8. The Routing Table: A Closer Look
    9. EIGRP
    10. Link-State Routing Protocols
    11. OSPF
  3. LAN Switching and Wireless
    1. Ethernet Revisited
    2. Switching Concepts – Cisco IOS® Software and Cisco Discovery Protocol
    3. Inside the Switch
    4. Campus Network Design
    5. Basic Switch Configuration
    6. VLANs and IP Telephony Basics
    7. Rapid Spanning Tree Protocol
    8. Trunking and VLAN Trunking Protocol
    9. Inter-VLAN Routing
    10. Wireless Networks and Mobility
    11. Campus LANs
  4. Accessing the WAN
    1. Managing Traffic: Access Control Lists
    2. Addressing Hosts: Network Address Translation, Dynamic Host Configuration Protocol, and IPv6 Basics
    3. Security
    4. Introduction to WAN Technologies
    5. WAN Devices and Connections: CSU, Cable Modem, and DSL Modem
    6. Connecting to the WAN: Leased Lines, Cable, and DSL
    7. Point-to-Point Protocol and Point-to-Point Protocol over Ethernet
    8. Frame Relay
    9. QoS Considerations
    10. Tunneling Concepts and VPN Basics
    11. Capstone: Converged Networks

วิทยากร

วิทยากรของหลักสูตรประกอบไปด้วยคณาจารย์ประจำของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

คุณสมบัติของผู้สมัคร

เป็นผู้ที่มีความสนใจ หรือเกี่ยวข้องกับ งานด้านเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระยะเวลาและสถานที่อบรม

จัดอบรมระหว่างวันที่ 8 มกราคม 2555 – 30 เมษายน 2555 จำนวน 20 วันๆ ละ 6 ชั่วโมง รวม 120 ชั่วโมง โดยจะทำการอบรมในวันเสาร์และ/หรืออาทิตย์ ในเวลา 9.00-16.00 น. ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

ค่าลงทะเบียนอบรม

ค่าลงทะเบียนอบรม (รวมค่าเอกสาร อาหารกลางวัน และอาหารว่างและเครื่องดื่ม)

  • บุคคลทั่วไป ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จำนวน 16 คน
    • สมัครและชำระค่าลงทะเบียน ภายใน วันที่ 23 ธันวาคม 2554 ค่าลงทะเบียน 32,900 บาท
    • สมัครและชำระค่าลงทะเบียน หลัง วันที่ 23 ธันวาคม 2554 ค่าลงทะเบียน 35,900 บาท

หลักฐานในการสมัคร

  • สำเนาหนังสือรับรองการศึกษา
  • สำเนาบัตรประชาชน

วิธีการสมัครและชำระเงิน

  1. สมัครและชำระเงินสดด้วยตนเอง ณ ชั้น 6 สำนักงานคณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ในวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.) – ดาวน์โหลด ใบสมัครหลักสูตร
  2. กรอกใบสมัคร ส่งทางแฟ็กซ์ หรือ E-mail
  3. สมัครผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยกรอกรายละเอียดลงใน แบบฟอร์ม และโอนเงินค่าลงทะเบียนตามช่วงเวลาที่ได้เลือกไว้ เข้าบัญชี ออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเทคโนโลยีฯเจ้าคุณทหาร เลขที่ บัญชี 088-2-246563 ชื่อบัญชี “โครงการพิเศษคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล.” และส่งหลักฐานการโอนเงินได้ทางโทรสาร หรือ ทาง e-mail

การสมัครจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อทางคณะได้รับชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว

หมายเหตุ: ผู้สมัครที่ชำระค่าลงทะเบียนแล้ว แต่ต้องการขอยกเลิกการอบรม จะต้องแจ้งขอยกเลิกภายในวันที่ 28 ธันวาคม 2554 โดยคณะฯจะคืนค่าลงทะเบียนให้ 70% หากพ้นกำหนดวันดังกล่าวจะไม่สามารถขอยกเลิกการอบรมได้

ติดต่อสอบถาม

คุณนุชรี โทร. 0 2723 4927,4925 มือถือ: 08 9699 7880 แฟกซ์: 0 2723 4910 ในวันและเวลาราชการ

E-mail: nutcharee@it.kmitl.ac.th