หลักสูตร Introduction to Artificial Intelligence
หลักการ
Artificial Intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลในโซเซียลมีเดียของแต่ละบุคคลถูกเก็บและใช้ในการแนะนำสินค้า เทคโนโลยีรถไร้คนขับที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการขนส่งในอนาคตไม่ไกลนัก อาจกล่าวได้ว่า ปัญญาประดิษฐ์เริ่มถูกใช้งานอย่างจริงจังในแทบทุกด้าน เช่น ในด้านการค้าขาย ได้แก่ การทำนายพฤติกรรมลูกค้าเพื่อสร้างโปรโมชั่น ด้านการเงิน ได้แก่ การตัดสินใจให้สินเชื่อแก่ผู้ขอกู้รายย่อย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการช่วยคัดกรองและวินิจฉัยโรค ด้านการรักษาความปลอดภัย ได้แก่ การรู้จำลายมือ ใบหน้า และไบโอแมทริกซ์ในการระบุตัวตน รวมไปถึงด้านการบริการและการบันเทิง ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์สนทนาโต้ตอบกับลูกค้าอย่างเป็นธรรมชาติ การสร้างภาพกราฟฟิกเสมือนจริงในภาพยนตร์ การสร้างตัวตนอวาตาร ในเกมแบบวีอาร์ที่ให้ประสบการณ์เสมือนจริง
ปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบันได้เข้าสู่ยุคของการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักรและการเรียนรู้เชิงลึก ซึ่งเป็นศาสตร์ที่อิงกับการคำนวณ ตรงข้ามกับปัญญาประดิษฐ์ยุคดั้งเดิมที่อิงกับการใช้เหตุผลแบบมนุษย์ สำหรับบุคคลทั่วไป ปัญญาประดิษฐ์จึงเป็นความลึกลับและงุนงง อย่างไรก็ตาม บุคคลทั่วไปควรและอาจจะจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของปัญญาประดิษฐ์ ในระดับที่สามารถวินิจฉัยได้ว่า งานประเภทใดที่ปัญญาประดิษฐ์สามารถทำได้ดี ภายใต้เงื่อนไขใด และคำกล่าวอ้างต่างๆ เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์มีความน่าเชื่อถือเพียงใด ไปจนถึงสามารถวินิจฉัยว่า จะนำปัญญาประดิษฐ์ไปปรับใช้ในกระบวนการทำงานปัจจุบันกระบวนการใดได้บ้าง ทั้งนี้ เพื่อต่อยอดพัฒนาทักษะของผู้เข้ารับการอบรมในอนาคต
เนื้อหา ประกอบด้วย
เนื้อหาการอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฏีและปฏิบัติ รวม 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย
หัวข้อที่ |
เนื้อหา |
ชั่วโมง |
1 |
AI definition and related fields Philosophy of AI Problem representation Problem and Solution space |
3 |
2 |
Solving problems with AI Search algorithms Search and Games |
3 |
3 |
Probability: Bayes rule, Naïve Bayes classification |
3 |
4 |
Introduction to Machine Learning |
3 |
5 |
Classification and Regression |
3 |
วิทยากร
คณาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
คุณสมบัติของผู้สมัคร
- บุคคลทั่วไป
ระยะเวลาและสถานที่อบรม
ในทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น. เรียน 5 สัปดาห์ 15 ชั่วโมง เริ่มวันที่ 6, 13, 27 กรกฎาคม – 3, 10 สิงหาคม 2567
หมายเหตุ: หากมีการเปลี่ยนแปลงวันและเวลาจากที่กำหนดไว้ จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
**เรียนร่วมกับนักศึกษาหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ ปริญญาโท**
ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
การรับสมัคร
เปิดรับสมัครถึง 27 มิถุนายน 2567
**สมัครและชำระค่าลงทะเบียนก่อนจะมีสิทธิ์ก่อน
รับจำนวน 15 คน
อัตราค่าลงทะเบียน 5,900 บาท
โปรโมชั่นพิเศษ!!!
โปรโมชั่น |
รายละเอียด |
เงื่อนไข |
EARLY BIRD | ลดทุกคอร์ส เหลือเพียง 4,900 บาท | ผู้สมัครต้องชำระค่าลงทะเบียน ภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2567 |
ศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล. | พิเศษ คอร์สละ 4,900 บาท จาก 5,900 บาท | ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 27 มิถุนายน 2567 |
ลดยกเซต สมัครเรียนมากกว่า 1 คอร์สขึ้นไป ลดสูงสุด 20 % |
· สมัครเรียน 2 คอร์ส ลด 20% เหลือเพียง 9,440 บาท · สมัครเรียน 3 คอร์ส ลด 20 % เหลือเพียง 14,160 บาท |
|
ลดยกแก๊ง ชวนเพื่อนสมัครเรียนในคอร์สเดียวกัน ลดสูงสุด 20 % |
· ชวนเพื่อนสมัครรวม 2 คน ลด 20% เหลือเพียง 9,440 บาท · ชวนเพื่อนสมัครรวม 3 คน ลด 20% เหลือเพียง 14,160 บาท · ชวนเพื่อนสมัครรวม 4 คน ลด 20% เหลือเพียง 18,880 บาท |
ผู้สมัครและเพื่อนจะต้องเรียนในคอร์สเดียวกัน |
วิธีการสมัคร
- สมัครผ่านระบบออนไลน์ คลิกที่นี่
- หลังสมัคร โอนเงินค่าลงทะเบียน เข้าบัญชี ออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯลาดกระบัง เลขที่ บัญชี 693-0-31634-2 ชื่อบัญชี “ โครงการพิเศษคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล.”
ส่งหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียน
- ส่งหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียน คลิกที่นี่
** การสมัครจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อทางคณะได้รับชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว **
*** สมัครและชำระค่าลงทะเบียนก่อนจะมีสิทธิ์ก่อนโดยเรียงตามลำดับ ***
หมายเหตุ ผู้เข้าอบรมจะต้องมีเวลาในการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาการอบรมทั้งหมด จึงจะได้รับใบรับรองผ่านการอบรม (Certificate of Course Attendance)
คุณนุชรี โทร. 0 2723 4927 หรือ มือถือ: 08 9699 7880
ในวันและเวลาราชการ E-mail: nutcharee@it.kmitl.ac.th