การประกันคุณภาพการศึกษา (QA)
นโยบาย ระบบ กลไก การประกันคุณภาพการศึกษา
เพื่อให้การประกันคุณภาพการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และกฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 และประกาศสถาบัน เรื่อง นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จึงกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
1. นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา
- จัดให้มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในคณะ และให้มีการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
- พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
- ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาของคณะ ตามคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- จัดทำคู่มือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะ ตามตัวชี้วัดและเกณฑ์มาตรฐานของ สกอ. และ สมศ. และชี้แจงทำความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรทราบ
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในองค์กร มีความรู้และเห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา และผลักดันให้บุคลากรในองค์กรมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษา มีความรู้ ทักษะ และมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะอย่างต่อเนื่อง
- ส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา
- เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษาแก่สาธารณชน
2. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา มีขั้นตอนการดำเนินงานที่เชื่อมโยงตามวงจร PDCA ดังนี้
- มีการวางแผนในการดำเนินการ
- มีการดำเนินการตามแผนที่กำหนด
- มีการประเมินผลการดำเนินงาน
- มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา
3. กลไกการประกันคุณภาพการศึกษา
- แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
- กำหนดนโยบายการและแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษาที่ชัดเจน
- ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
- จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาคณะ (Self Assessment Report: SAR)
- ตรวจและประเมินคุณภาพการศึกษาภายในคณะ ภายในสถาบัน และภายนอก
- รายงานผลการประเมินให้ประชาคมทราบ
4. การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- กำหนดแนวทางในการดำเนินการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะ โดยพิจารณาจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในคณะ ภายในสถาบัน และภายนอก ของปีที่ผ่านมา ดังนี้
- ตัวบ่งชี้ที่มีระดับคะแนน 1 และ 2 ระดับการดำเนินการ “พัฒนาเร่งด่วน”
- ตัวบ่งชี้ที่มีระดับคะแนน 3 และ 4 ระดับการดำเนินการ “พัฒนา”
- ตัวบ่งชี้ที่มีระดับคะแนน 5 ระดับการดำเนินการ “ควบคุม”
- กำหนดผู้รับผิดชอบ แนวปฏิบัติ ขั้นตอนการดำเนินการของแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษา
เอกสาร
- แผนการประกันคุณภาพการศึกษาคณะ
- รายงานผลการตรวจประเมิน
- คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา สกอ.
- คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา สมศ.
- กฎหมายเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา
- พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ฉบับ 2 พ.ศ. 2545 และ ฉบับ 3 พ.ศ. 2552
- พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเิมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543
- กฎกระทรวงว่าด้วยระรบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553
- ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
- ประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาิติ พ.ศ. 2552 และฉบับ 2 พ.ศ. 2554
- อภิธานศัพท์
- งานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
- ภาพกิจกรรม