การศึกษาการบูรณาการอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่งกับมาตรฐาน HL7 สำหรับดูแลติดตามสุขภาพแบบเรียลไทม์ โดยใช้การประมวลผลแบบกลุ่มก้อนเมฆ

Kuntinan Plathong, Boonprasert Surakratanasakul

Abstract


เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ส่งผลให้ผู้ป่วยในแต่ละพื้นที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น จึงมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงานพยายามที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับกับยุคสมัยที่เกิดขึ้น หน่วยงานส่วนใหญ่เลือกใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง ที่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ทุกสิ่งเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ในรูปแบบของอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่งเพิ่มขึ้นมากมาย อาทิเช่น อุปกรณ์สำหรับสวมใส่, อุปกรณ์วัดความดัน, อุปกรณ์วัดน้ำตาลในเลือด ฯลฯ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์เหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมากที่จะนำไปช่วยในการรักษาผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำ และจากการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรับ – ส่ง ข้อมูลทางการแพทย์ที่รวดเร็ว แม่นยำ และสามารถรองรับข้อมูลในปริมาณมากจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเสนอกรอบแนวคิดการบูรณาการอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่งกับมาตรฐาน HL7 เพื่อรองรับข้อมูลผู้ป่วย/ผู้สูงอายุที่มีปริมาณมาก สำหรับการดูแลติดตามสุขภาพแบบเรียลไทม์ โดยใช้การประมวลผลแบบกลุ่มก้อนเมฆ กรอบแนวคิดนี้ช่วยให้ผู้สูงอายุหรือประชาชนทั่วไปที่ดูแลสุขภาพสามารถตรวจสุขภาพได้ด้วยตนเองไมว่าจะอยู่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่อื่นๆ โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์แบบอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งไปยังการประมวลผลแบบกลุ่มก้อนเมฆด้วยภาษา JSONและบันทึกข้อมูลทางการแพทย์ของบุคคลนั้นๆ แบบเรียลไทม์ และสาธารณสุข โรงพยาบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อการรักษาหรือให้คำปรึกษาในการดูแลสุขภาพได้ ผ่านเว็บเซอร์วิส ด้วยภาษา XML ตามมาตรฐาน HL7

Full Text:

PDF

References


ประภัสสร อักษรพันธ์. “การวัดสัญญาณชีพ”. เอกสารประกอบการสอน วิชาปฏิบัติการการรักษาพยาบาล. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. มป.

Sapna Tyagi, Amit Agarwal and Piyush Maheshwari, “A Conceptual Framework for IoT –based Healthcare System using Cloud Computing” India, IEEE, pp. 503, 2016.

IoT Solutions World Congress. (2017, Mar 10). Internet of Things in Healthcare. [Online]. Available: http://www.cancer-pain.org/.

S. Pinto, J. Cabral and T. Gomes, “We-Care: An IoT-based Health Care System for Elderly People,” Portugal, IEEE, pp. 1383, 2017.

Sourav Kumar Dhar, Suman Sankar Bhunia and Nandini Mukherjee, “Interference Aware Scheduling of Sensors in IoT Enabled Health-care Monitoring System,” in 2014 Fourth International Conference of Emerging Applications of Information Technology , India, 2014, pp 153.

Telit. Benefits of IoT healthcare (2017 Mar 10). [Online]. Available: http://www.telit .com/

MQTT (2017, Apr 12). What is MQTT?. [Online]. Available : http://mqtt.org/faq.

Athiwat Sangthong, “Raspberry Pi Control and Monitoring for Arm Robots Using MQTT Protocol”, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, Thailand, 2015.

Health Level Seven INTERNATIONAL (2017, Apr 14). Introduction to HL7 Standards. [Online]. Available : http://www.hl7.org/.

LU Xiaoqi, GU Yu, ZHAO Jianfeng, YU Ning and JIA Weitao, “Research and Implementation of Medical Information Format Conversion based on HL7 Version 2.x”, China, IEEE, 2011, pp 2440.

Orza Bogdan, Cordos Alin, Vlaicu Aurel and Meza Serban, “Integrated medical system using DICOM and HL7 standards”, March, 2010, pp. 233-235.

Xiao-Ou Ping, Li-Fan Ko, Rung-Ji Shang, Faipei Lai, Chi-Huang Chen and Kuo-Hsuan Huang, “Dynamic Messages Creation Method for HL7 based Healthcare Information System,” Taiwan, IEEE, pp. 150, 2007.

Moataz Soliman, Tobi Abiodun, Tarek Hamouda, Jiehan Zhou and Chung-Horng Lung, “Smart Home: Integrating Internet of Things with Web Services and Cloud Computing.” In 2013 IEEE International Conference on Cloud Computing Technology and Science, Canada, 2013, pp. 319.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.